วันศุกร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2561

บทที่ 6 E-commerce : Digital Markets, Digital Goods




ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ (E-Business)


เป็นกระบวนการหรือขั้นตอนในการดำเนินธุรกิจ โดยอาศัยเทคโนโลยีเครือข่ายที่เรียกว่าว่าองค์กรเครือข่ายร่วม ในการดำเนินงานเพื่อให้เพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำธุรกิจมากยิ่งขึ้น เทคโนโลยีนี้จะใช้การติดต่อสื่อสารระหว่างกันผ่านช่องทางโครงข่ายโทรคมนาคมจุดมุ่งหมายในการทำธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ นั้นคือ เพื่อสร้างคุณค่าทางธุรกิจมากขึ้นและลดต้นทุนการทำธุรกิจโดยการอาศัยแรงงานคนที่น้อยในการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ช่วยให้องค์กรภายนอกและภายในมีการดำเนินงานได้ง่ายมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม E- Business อาจไม่จำเป็นต้องอาศัยเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตหรือเว็บเสมอไป เพียงแต่กระแสความนิยมของอินเทอร์เน็ตได้เข้ามามีบทบาทต่อวิถีชีวิตของมนุษย์มากยิ่งขึ้น จึงทำให้องค์กรต่างๆ นำ E- Business มาใช้ในช่องทางในการขยายขอบเขตของการดำเนินธุรกิจกันมากยิ่งขึ้น

พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce)

คือ การดำเนินธุรกิจโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางธุรกิจที่องค์กรได้วางไว้ เช่น การซื้อขายสินค้าและบริการ การโฆษณาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์ โทรทัศน์ วิทยุ หรือแม้แต่อินเทอร์เน็ต เป็นต้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดค่าใช้จ่าย และเพื่มประสิทธิภาพขององค์กร โดยการลดบทบาทองค์ประกอบทางธุรกิจลง เช่น ทำเลที่ตั้ง อาคารประกอบการ โกดังเก็บสินค้า ห้องแสดงสินค้า รวมถึงพนักงานขาย พนักงานแนะนำสินค้า พนักงานต้อนรับลูกค้า เป็นต้น จึงลดข้อจำกัดของระยะทาง และเวลาลงได้ 

E-Commerce ช่วยอำนวยความสะดวกให้นักธุรกิจได้หลายด้าน ดังนี้
1. ทำงานแทนพนักงานขายได้ โดยสามารถทำการค้าแบบอัตโนมัติ ได้อย่างรวดเร็ว
2. ทำให้เปิดหน้าร้านขายของ ให้คนทั่วโลกได้ และเปิดขายได้ทุกวันโดยไม่มีวันหยุดตลอด 24 ชั่วโมง เช่น การขายโดยใช้ระบบ Shopping Cart ทำให้ลูกค้าสามารถสั่งซื้อสินค้าได้เองตลอดเวลาผ่านเว็บไซต์
3. เก็บเงิน และนำฝาก เข้าบัญชีให้คุณได้โดยอัตโนมัติ
4. ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่าย ในการจัดพิมพ์แคตาล็อก (กระดาษ) ออกมาเป็นเล่ม ๆ และไม่ต้องมาเสียเงิน และเวลาในการจัดส่งให้ลูกค้าทางไปรษณีย์อีก
5. แทนได้ทั้งหน้าร้าน (Showroom) หรือบูท (Booth) แสดงสินค้าของคุณที่มีคนทั่วโลกมองเห็น ไม่ต้องเสียค่าเครื่องบิน ไปออกงานแสดงสินค้าในต่างประเทศ
6. แทน และเพิ่มประสิทธิภาพ การบริหารธุรกิจ ภายในของเราได้อีกมากมาย

ประเภทของ E-Commerce



1. การทำการค้าระหว่าง Customer (ผู้บริโภคหรือผู้ซื้อ) กับ Business (ผู้ทำการค้า) เช่น ลูกค้าต้องการซื้อหนังสือกับร้านค้า
2. การทำการค้าระหว่าง Business (ผู้ทำการค้า)  กับ Business ( ผู้ทำการค้า) เช่น ร้านขายหนังสือค้าต้องการสั่งซื้อหนังสือจากโรงพิมพ์
3. การทำการค้าระหว่าง Business (ผู้ทำการค้า)  กับ Customer (ผู้บริโภคหรือผู้ซื้อ) เช่น โรงพิมพ์ต้องการซื้อต้นฉบับจากผู้เขียน
4. การทำการค้าระหว่าง Customer (ผู้บริโภคหรือผู้ซื้อ)  กับ Customer (ผู้บริโภคหรือผู้ซื้อ) ด้วยกันเช่น ผู้บริโภคต้องการขายรถยนต์ของต้นเองให้กับผู้บริโภคท่านที่สนใจ


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ประโยชน์ของ E-Commerce

โครงสร้างของระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce System)

1. หน้าร้าน ( Storefront )  คือส่วนแสดงข้อมูลรายการสินค้าทั้งหมดของร้าน รวมทั้งระบบค้นหาข้อมูลรายการสินค้าของร้านค้า ส่วนนี้เป็นส่วนที่สำคัญที่สุดเพราะเป็นความประทับใจครั้งแรกของลูกค้า
2. ระบบตะกร้ารับคำสั่งซื้อ ( Shopping Cart System ) เป็นระบบที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการสั่งซื้อสิ้นค้าของร้าน เมื่อลูกค้าต้องการสินค้า จะทำการคลิกไปบนสินค้าที่ต้องการ สินค้าจะนำมารวมกันในตะกร้าหรือรถเข็ญสินค้า เพื่อทำการสั่งซื้อ
3. ระบบชำระเงิน ( Payment System )  มีวิธีการชำระเงินได้หลายรูปแบบ เช่นโอนเงินเข้าบัญชี การชำระเงินผ่านบัตรเครดิต การชำระเงินควรมีหลายทางเลือกสำหรับลูกค้า และสิ่งที่สำคัญคือความปลอดภัย และรักษาความลับของลูกค้า
4. ระบบสมาชิก ( Member System ) ข้อมูลสมาชิกใช้ในการจัดส่งสินค้าตามที่อยู่ แจ้งสินค้าใหม่ หรือโปรโมชั่นพิเศษ ข้อมูลสมาชิกจัดเป็นข้อมูลส่วนตัว (private date)
5. ระบบขนส่ง ( Transportation ) เป็นระบบจัดส่งสินค้าให้ถึงลูกค้า โดยต้องมีตัวเลือกหลายทางให้ลูกค้า ที่สำคัญลูกค้าควรจะสามารถติดตามสินค้าที่ได้ทำการชำระเงินแล้วได้ เช่นระบบไปรษณีย์ EMS ใช้หมายเลขของพัสดุที่มีการลงทะเบียนเป็นต้น
6. ระบบติดตามคำสั่งซื้อ ( Order Tracking system ) เป็นระบบติดตามคำสั่งซื้อของลูกค้า เมื่อเสร็จสิ้นการสั่งซื้อแต่ละครั้ง

โมเดลทางธุรกิจของ E-Commerce

1. บริคแอนด์มอร์ตาร์ (Brick and Mortar) เป็นการค้าขายสินค้าแบบดั้งเดิม ดังนั้นมิติทั้งสามไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์ กระบวนการ และตัวแทนในการส่งมอบสินค้า ล้วนเป็นสิ่งที่ถูกดำเนินการหรือพบปะกันจริงตามโครงสร้างเชิงกายภาพทั้งสิ้น ตัวอย่างเช่น การซื้อสินค้าในห้างสรรพสินค้า เมื่อลูกค้าต้องการซื้อสินค้าจะต้องเดินทางไปห้างสรรพสินค้า จากนั้นเลือกซื้อสินค้าและชำระเงิน หรืออาจกล่าวได้ว่า เป็นการซื้อสินค้าแบบออฟไลน์ อย่างไรก็ตาม ธุรกิจที่ดำเนินอยู่เดิมนี้ได้เพิ่มชิองทางการขายสินค้าออนไลน์ผ่านเว็บจะเปลี่ยนรูปแบบเป็นคลิกแอนด์มอร์ตาร์ได้
2. คลิกแอนด์มอร์ตาร์ (Click-and-Mortar) คือ องค์กรที่ผลิตภัณฑ์ กระบวนการ และ ตัวแทนจำหน่าย มีการผสมผสาน ทั้งแบบกายภาพหรือดิจิตอล เข้าด้วยกัน (Physical or digital) เช่น ร้านดอกไม้ Miss Lily ที่มีการสั่งซื้อเป็นแบบ Online ตัวสินค้าและการจัดส่งเป็นทางกายภาพ
3. คลิกแอนด์คลิก (Click and Click) คือ E-Commerce ที่มีรูปแบบการค้าขายหรือการให้บริการ ผ่านทางเว็บไซต์และอินเทอร์เน็ต เพียงช่องทางเดียวเท่านั้น ไม่มีธุรกิจหรือหน้าร้านค้าจริงๆ ให้คนสามารถไปซื้อหรือรับสินค้าได้ ดังนั้นเมื่อลูกค้าสั่งซื้อสินค้าจากเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์จะทำการส่งสินค้าไปให้ลูกค้าถึงที่อยู่ของลูกค้านั้นๆ

ประเภทของสินค้าและบริการ

1. สินค้าดิจิทัล (Digital Goods) คือ สินค้าที่มีลักษณะเป็นสื่อดิจิทัลในรูปแบบต่างๆ ที่มีลักษณะเป็นไฟล์ และสามารถส่งผ่านช่องทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ได้ เช่น เพลง ภาพยนตร์ รูปภาพ เป็นต้น
2. สินค้าจับต้องได้ (Physical Goods) คือ สินค้าที่มีลักษณะทางกายภาพ หรือตัวตนที่สามารถจับต้องได้ หรือมีน้ำหนัก เช่น หนังสือ ดอกไม้ รองเท้า เสื้อผ้า เป็นต้น สินค้าประเภทนี้ เมื่อลูกค้าทำการเลือกซื้อสินค้าแล้ว ผู้ขายจะต้องทำการส่งสินค้าผ่านช่องทางการขนส่งต่างๆ เพื่อให้สินค้านั้นๆ ไปให้ถึงมือลูกค้า
3. บริการ (Service) คือ การให้บริการในรูปแบบต่างๆ โดยการให้บริการบางอย่างสามารถให้บริการผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์หรือทางเว็บไซต์ได้ เช่น บริการลงประกาศรูปภาพ หรือบริการค้นหาข้อมูลสินค้า เป็นต้น

ประเภทของเว็บไซต์ E-Commerce

1. เว็บไซต์แคตตาล็อกสินค้าออนไลน์ (Online Catalog Web Site) เป็นรูปแบบจัดทำเว็บไซต์ E-commerce ในรูปแบบของแคตตาล็อกออนไลน์ ที่มีรูปภาพ และรายละเอียดสินค้า พร้อมที่อยู่เบอร์โทรติดต่อ หากแต่ไม่มีระบบการชำระเงินผ่านทางเว็บไซต์ หรือระบบตะกร้าสินค้า (Shopping Cart) โดย หากผู้สนใจสินค้าก็เพียงโทรสอบถามและสั่งซื้อสินค้าได้ ซึ่งเป็นการใช้ประโยชน์เว็บไซต์เหมือนโบรชัวร์ หรือแคตตาล๊อกออนไลน์ (e-Brochure) เพื่อให้ลูกค้าสามารถเข้ามาเลือกดูรายละเอียดสินค้าและราคา ได้จากทั่วประเทศหรือทั่วโลก ผ่านทางเว็บไซต์
2. ร้านค้าออนไลน์ (E-Tailer Web Site) เป็นรูปแบบเว็บไซต์ e-Commerce ที่มีทั้ง ระบบการจัดการสินค้า ระบบตะกร้าสินค้า (Shopping Cart) ระบบการชำระเงิน รวมถึงการขนส่งสินค้า ครบสมบูรณ์แบบ ทำให้ผู้ซื้อสามารถสั่งซื้อสินค้าและทำการชำระเงินผ่านเว็บไซต์ ได้ทันที
3. การประมูลสินค้า (Auction) รูปแบบเว็บไซต์ e-Commerce ที่มีการนำสินค้าไปประมูลขายกัน โดยจะเป็นการแข่งขันกันในการเสนอราคาสินค้า หากผู้ใดเสนอราคาสินค้าได้สูงสุดในช่วงเวลาที่กำหนด ก็จะชนะการประมูลและสามารถซื้อสินค้าชิ้นนั้นไปได้ด้วยราคาที่ได้กำหนดไว้ ส่วนใหญ่สินค้าที่นำมาประมูลหากเป็นสินค้าใหม่ ราคาจากการประมูลสินค้ามักจะมีราคาตํ่ากว่าราคาตลาดทั่วไป ยกเว้นสินค้าบางประเภท เช่น ของเก่า หรือของสะสมต่างๆ เป็นต้น
4. การประกาศซื้อ - ขาย (e-Classified) เป็นรูปแบบเว็บไซต์ e-Commerce ที่เปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจประกาศความต้องการ ซื้อ-ขาย สินค้าของตนได้ภายในเว็บไซต์ โดยเว็บไซต์จะทำหน้าที่เหมือนกระดานข่าว และตัวกลางในการแสดงข้อมูลสินค้าต่างๆ และหากมีคนสนใจซื้อสินค้าที่ประกาศไว้ ก็จะสามารถติดต่อตรงไปยังผู้ที่ประกาศขายได้ทันทีจากข้อมูลที่ประกาศอยู่ภายในเว็บไซต์ ทั้งนี้เว็บไซต์ส่วนใหญ่จะมีการแบ่งหมวดหมู่ของประเภทสินค้าเอาไว้ เพื่อให้ง่ายต่อการเข้าไปเลือกซื้อ หรือขายสินค้าในเว็บไซต์
5. ตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์ (E-Marketplace) เป็นรูปแบบเว็บไซต์ e-Commerce ที่เป็นเสมือนตลาดนัดขนาดใหญ่ ซึ่งภายในเว็บไซต์จะมีการรวบรวมเว็บไซต์ของร้านค้า และบริษัทต่างๆ มากมาย โดยมีการแบ่งหมวดหมู่ของสินค้าเอาไว้ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเข้าไปดูสินค้าภายในร้านค้าต่างๆภายในตลาดได้อย่างง่ายดายและสะดวก โดยรูปแบบของตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์บางแห่ง มีการแบ่งออกเป็นหลายรูปแบบตามลักษณะของสินค้าที่มีอยู่ภายในตลาดแห่งนั้น เช่น ตัวอย่างเว็บไซต์ตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์เกี่ยวกับสินค้าทั่วไป คือ www.dbdmart.com และ www.TARAD.com ตัวอย่างเว็บไซต์ตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์เกี่ยวกับสินค้าประเภทอาหาร คือ www.FoodMarketExchange.com และตัวอย่างเว็บไซต์ตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์ของสินค้า OTOP คือ www.thaitambon.com เป็นต้น

หลักการตลาด 6 P ของ e-Commerce


1.    Product   แบ่งได้เป็น 2 ประเภท
           1)    สินค้าดิจิตอล (Digital Product)  เช่น ซอฟแวร์  เพลง   หนังสือดิจิตอล ซึ่งส่งสินค้าได้โดยผ่านอินเทอร์เน็ต
           2)    สินค้าที่ไม่ใช่ดิจิตอล (Physical Product)  เช่น  เสื้อผ้า เครื่องประดับ ซึ่งต้องมีการจัดส่งผ่านช่องทางการขนส่งให้ถึงมือผู้ซื้อ
การค้าทางออนไลน์  ลูกค้าไม่สามารถจำต้องเลือกสินค้าได้ก่อน  จะได้แต่เพียงแค่ดูรูปภาพและ      คำบรรยาย  เราต้องให้ภาพที่ชัดเจนและรายละเอียดของสินค้า เพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจให้มากที่สุด แต่ต้องไม่เกินความจริง  รูปภาพชัดเจน ไม่มัว มืดดำ วางตำแหน่งภาพสมดุล มีทั้งขนาด preview และ Full   หากเป็นสินค้าบริการต้องให้เห็นส่วนสำคัญของการบริการที่มีระดับ มีคุณภาพ บรรยากาศที่ดี   การเขียนข้อความบรรยายต้องเขียนให้กระชับได้ใจความ และเชิญชวน
     2. Price   การวางขายสินค้าบน e-Commerce จะมีราคาถูกหรือแพง ขึ้นอยู่กับสินค้า ซึ่งเมื่อนำมารวมกับค่าขนส่งแล้ว ถ้ามีราคาเพิ่มมากขึ้น อาจะทำให้ความน่าสนใจลดลงหรือลูกค้าเปลี่ยนใจได้   อาจใช้วิธีปรับราคาให้ต่ำ เมื่อรวมค่าขนส่งแล้วยังคงต่ำกว่าหรือเท่ากับตลาด  หากไม่สามารถปรับเรื่องราคาให้ เน้นความสะดวกจากการสั่งซื้อ  การส่งเสริมการขาย  หากราคาที่แจ้งยังไม่รวมค่าขนส่ง  ต้องบอกให้ลูกค้าทราบว่ายังไม่ได้รวมค่าจัดส่ง  และให้ข้อมูลด้านการจัดส่งด้วย
     3. Place  การนำเสนอเว็บไซต์ เพื่อให้ผู้สนใจเข้าชมและเลือกใช้บริการ   ประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางอินเทอร์เน็ตต่าง ๆ  ในประเทศและต่างประเทศ  Search Engine
     4. Promotion  การส่งเสริมการขาย  เป็นหลักการสำคัญที่จะดึงดูดความสนใจของลูกค้าให้เกิดการติดตามอย่างต่อเนื่องและสั่งซื้ออย่างสม่ำเสมอ   โดยมีการเปลี่ยนแปลงเป็นประจำ  การให้ส่วนลดตามปริมาณการสั่งซื้อ  ให้สิทธิแก่สมาชิก หรือลูกค้าประจำ
     5. Personalization  การให้บริการส่วนบุคคล  เป็นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างเว็บไซต์กับลูกค้าที่เป็นสมาชิกและไม่เป็นสมาชิก  การทักทาย การให้ความรู้สึกและให้การปฏิบัติที่ดี
     6. Privacy  สิ่งที่ลูกค้าต้องการมากที่สุด คือ การรักษาความเป็นส่วนตัว  การรักษาความเป็นส่วนตัวจึงเป็นสิ่งที่ธุรกิจต้องยึดมั่น เป็นจรรยาบรรณต่อลูกค้า   โดยมีการปฏิบัติตามประกาศนโยบายรักษาความเป็นส่วนตัวที่ให้ไว้   จะต้องให้ลูกค้าเป็นผู้เข้าถึงและสามารถแก้ไขได้เพียงผู้เดียว  ตรวจสอบข้อมูลส่วนตัวของลูกค้าจากสถาบัน หน่วยงานที่ไว้วางใจและเชื่อถือได้

วันพฤหัสบดีที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2561

บทที่ 7 Enterprise Application



ERP ย่อมาจากคำว่า Enterprise Resource Planning 

              เป็นระบบบริหารทรัพยากรองค์กร ใช้ในการจัดการและวางแผนการใช้ทรัพยากรต่างๆ ขององค์กร โดยเชื่อมโยงระบบต่างๆ ขององค์กรเข้าด้วยกัน ตั้งแต่ระบบงานทางด้านบัญชีและการเงิน ระบบงานทรัพยากรบุคคล ระบบบริหารการผลิต รวมถึงระบบการกระจายสินค้า โดยที่มีฐานข้อมูลเก็บข้อมูลทุกอย่างไว้ที่เดียวกัน เพื่อป้องกันความซ้ำซ้อนของข้อมูล และเพิ่มประสิทธิภาพการจัดสรรข้อมูลให้ได้ประโยชน์
               ERP มีการทำงานแบบ Real time และ การไหลของข้อมูลเป็นไปในทิศทางเดียวกัน การเชื่อมโยงกันของข้อมูลในระบบที่เป็นเส้นทางเดียวกันนี้เอง การไหลของข้อมูลจึงทำให้สามารถรับรู้สถานการณ์และปัญหาของงานต่างๆ ได้ทันที มีผลสำคัญในการตัดสินใจแก้ปัญหาองค์กรได้อย่างรวดเร็วการไหลของข้อมูลการ เชื่อมต่อข้อมูลทำให้เกิดความรวดเร็ว สามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้
               อีกทั้ง ERP ยังเป็นเครื่องมือสำหรับพยากรณ์การดำเนินงาน การลงทุน หรือการจัดการบริหารงานด้านต่างๆ เช่น การบริหารยอดขายหรือรายจ่ายในอนาคต การบริหารระบบการผลิตต่างๆ ฯลฯ

บทบาทของ ERP  

               สภาพ ธุรกิจที่มีขนาดใหญ่และมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง เป็นผลทำให้เกิดการเชื่อมโยงของกิจกรรมสร้างมูลค่าให้กับลูกค้า ของแผนกต่างๆที่เกี่ยวข้อง



ดังนั้น ERP ก็ คือเครื่องมือที่นำมาใช้ในการบริหารธุรกิจเพื่อแก้ปัญหาต่างๆ ในเชิงบริหารที่เกิดขึ้นดังกล่าวอีกทั้งจะช่วยให้สามารถวางแผนการลงทุนและ บริหารทรัพยากรขององค์กรโดยรวมได้อย่างมีประสิทธิภาพ


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ระบบวางแผนทรัพยากรองค์กร


โครงสร้างของ ERP แบ่งออกเป็น 5 กลุ่มคือ

Material Resource Planning (MRP) หมายถึง ระบบสารสนเทศเพื่อใช้ในการจัดทำแผนความต้องการวัสดุ โดยมีองค์ประกอบของข้อมูลนำเข้าที่สำคัญ 3 รายการคือ ตารางการผลิตหลัก แฟ้มข้อมูลบัญชีรายการวัสดุ (Bill of Material File) และ แฟ้มข้อมูลสถานะคงคลัง (Inventory Status File)
Customer Resource Management (CRM) หมายถึง ระบบสารสนเทศเพื่อบริหารความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรและลูกค้า เพื่อให้เป็นความสัมพันธ์ระยะยาว โดยระบบนี้จะศึกษาพฤติกรรมการซื้อของลูกค้า ความสนใจ ความต้องการ เพื่อให้องค์กรนำข้อมูลเหล่านั้นมาวิเคราะห์และนำสินค้าเสนอต่อลูกค้าให้ใกล้เคียงกับที่ลูกค้าสนใจ และการบริการหลังการขายแก่ลูกค้า ลดการสูญเสียลูกค้า ลดต้นทุนการตลาด เพิ่มรายได้จากการที่ลูกค้าซื้อและแนะนำให้คนรู้จักซื้นสินค้าขององค์กร
Finance Resource Management (FRM) หมายถึง ระบบสารสนเทศที่เน้นให้บริการเกี่ยวกับการเงินและบัญชี  โดยอิงตามกฏระเบียบและข้อบังคับตามที่ประเทศนั้นๆ กำหนด FRM ถือเป็นส่วนประกอบหลักของโครงสร้าง ERP ทั้งหมด โดยผลลัพธ์จากการประมวลผลของ FRM มักจะออกมาในรูปแบบรายงาน ทั้งรายงานสำหรับระดับปฏิบัติการ รายงานสำหรับผู้บริหาร และรายงานสำหรับหน่วยงานภายนอก เช่น กรมบัญชีกลาง กรมสรรพากร เป็นต้น
Human Resource Management (HRM) หมายถึงระบบสารสนเทศเพื่อการบริการงานทางบุคคล จัดประกอบด้วยข้อมูลพื้นฐานของพนักงานในองค์กร  ข้อมูลพื้นฐานของโครงสร้างองค์กร การประมวลผลเกี่ยวกับเงินเดือน เป็นต้น
Supply Chain Management (SCM) หมายถึง ระบบสารสนเทศเพื่อจัดการกระบวนการไหลของวัสดุ สินค้าตลอดจนข้อมูลและธุรกรรมต่างๆ ผ่านองค์กรที่เป็นผู้ส่งมอบ ผู้จัดจำหน่าย ไปจนถึงลูกค้า โดยที่องค์กรต่างๆ มีความสัมพันธ์ทางธุรกิจต่อกัน


คุณสมบัติของ ERP ที่สำคัญ คือ

ควรมีความยืดหยุ่น (Flexible) ควรมีความยืดหยุ่น รองรับองค์กร หากมีการปรับเปลี่ยนในอนาคตได้ อีกทั้งการเก็บข้อมูลควรใช้ฐานข้อมูลกลางเดียวกัน เพื่อให้สามารถบูรณาการข้อมูลได้
โมดูลควรอิสระจากกัน (Modular) ประกอบด้วยหลายฟังก์ชันการทำงาน หรือหลายโมดูลดังนั้นควรมีการทำงานที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน และอิสระต่อกัน เพื่อป้องกันการเปลี่ยนแปลงจะได้ไม่กระทบกับโมดูลอื่นๆ และต้องรองรับการทำงานได้หลากหลายแพลตฟอร์ม (Platform)
ครอบคลุม (Comprehensive) สามารถรองรับการทำงานได้หลากหลายฟังก์ชัน เนื่องจากแต่ละองค์กรมีลักษณะการทำงานที่แตกต่างกัน ดังนั้นต้องหลากหลายและครอบคลุม
นอกเหนือจากองค์กร (Beyond the Company) สามารถเชื่อมต่อกับระบบสารสนเทศอื่นๆ ขององค์กรได้ ไม่จำกัดเพียง ERP เท่านั้น

Belong to the Best Business Practices มีกระบวนการทำงานที่เป็นมาตรฐาน โดยนำกิจกรรมหรือกระบวนการทำงานที่จัดว่าเป็นสิ่งที่ดีที่องค์กรพึ่งมีไว้ในระบบ หากแต่องค์กรสามารถปรับแต่งได้ตามความเหมาะสมกับองค์กรนั้นๆ

ประโยชน์ของระบบ ERP

1.      ระบบ ERP สามารถรวบรวมข้อมูลทางการเงินของบริษัทเพื่อให้ผู้บริหารระดับสูงเข้าใจภาพรวม ของฐานะทางการเงินและการดำเนินงานของบริษัท ซึ่งจะส่งผลต่อประสิทธิภาพของการตัดสินใจของผู้บริหาร
2.      ระบบ ERP รวบรวมข้อมูลการสั่งสินค้าของลูกค้าตั้งแต่การสั่งซื้อของลูกค้าผ่านตัวแทนขาย จนกระทั่งถึงขั้นตอนของการส่งสินค้าและเก็บเงิน ทำให้บริษัทดำเนินการต่างๆ ได้สะดวกรวดเร็ว รวมถึง สื่อสารภายในระหว่างกันได้ง่ายขึ้น และสามารถตรวจสอบสถานะการดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3.      สร้างมาตรฐานและเพิ่มความรวดเร็วในการวางแผนและควบคุมการผลิต ทำให้ประหยัดเวลาในการดำเนินการ และสามารถทำการวิเคราะห์ข้อมูลการผลิต เพื่อนำไปสู่การเพิ่มผลิตภาพ การผลิตและการลดต้นทุนการผลิตได้เป็นอย่างดี
4.      ลดต้นทุนสินค้าคงคลัง ระบบ ERP ช่วยให้การวางแผนและควบคุมสินค้าคงคลังมีประสิทธิภาพ ตั้งแต่ขั้นตอนการจัดตารางการผลิตหลัก (Master Production Scheduling, MPS) การวางแผนความต้องการวัสดุ (Material Requirements Planning, MRP) การควบคุมสินค้าคงคลัง (Inventory Control) และการจัดการคลังสินค้า (Warehouse Management)
5.      เชื่อมโยงข้อมูลทั่วทั้งองค์กรได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง และแม่นยำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริษัทที่มีหลายหน่วยธุรกิจ ซึ่งระบบ ERP จะสามารถลดปัญหาการสื่อสาร การเชื่อมโยงข้อมูล การวางแผนร่วมกัน ระหว่าง แผนกต่าง ๆ เช่น สามารถลดต้นทุนที่ไม่ก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่ม สามารถส่งมอบสินค้าให้ลูกค้าได้ตามกำหนด เวลา และสามารถตอบสนองลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว

SAP (System Application and Product in Data Processing)

SAP คือ โปรแกรมที่ช่วยจัดการสายงานทุกสายงานของธุรกิจให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ อย่างรวดเร็ว และได้ข้อมูลที่ถูกต้องแม่นยำ สามารถนำไปใช้ประกอบการดำเนินกิจกรรมของธุรกิจได้ และผู้บริหารสามารถเรียกดูข้อมูลและตรวจสอบข้อมูลสถานะของบริษัทได้ โดยทำหน้าที่จัดการเกี่ยวกับทรัพยากรขององค์เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
           SAP ก่อตั้งที่ประเทศเยอรมัน เมื่อปี 1972 (พ.ศ. 2515) สำนักงานใหญ่อยู่ที่ Walldorf, Germany โดยการรวมตัวกันของอดีตพนักงานบริษัท IBM และเจริญเติบโตจนกลายเป็นบริษัท software ที่ใหญ่เป็นอันดับ5ของโลก มีบริษัทที่มีการใช้ SAP มากกว่า 6,000 บริษัท ใช้มากกว่า 50 ประเทศ ใช้มากกว่า 9,000 site มีส่วนแบ่งในตลาด client/server software กว่า 31% มีผู้ใช้เพิ่ม 50% ต่อปี มียอดขาย SAP R/3 เพิ่มขึ้น 70% ต่อปี เป้าหมายธุรกิจในเริ่มแรก เน้นลูกค้าที่เป็นธุรกิจขนาดใหญ่ (Enterprise-scale) แต่ในปัจจุบันได้ขยายธุรกิจไปที่ลูกค้าขนาดเล็กและขนาดกลาง
SAP จัดเป็น ERP ประเภทหนึ่ง การทำงานในปัจจุบันจะเป็น R/3 (ทำงานแบบ Client/Server) โดยในส่วน Application ทั้งหมดของระบบ SAP นั้น ถูกพัฒนาขึ้นด้วยภาษา ABAP หรือ Advance Business Application Programming (ABAP/4 ซึ่งเป็นภาษาโปรแกรมในยุคที่ 4 หรือ 4GL เป็นคำที่เรียกใน SAP Release 3.0 ส่วนใน SAP Release 4.0 เป็นต้นไป จะเรียกว่า ABAP เนื่องจากมีการพัฒนาภาษาโปรแกรม ABAP เป็นแบบ Object-Oriented มากขึ้น) ในส่วนของ Run Time หรือ Kernel ของระบบ SAP นั้นถูกพัฒนามาจากภาษา C/C++ ในส่วนของการ Implement ระบบ SAP นั้น จะมีการทำ Customization หรือ Configuration (จริงๆแล้วก็คือการกำหนดค่า Parameter ต่างๆ) ผ่านทาง Implementation Guide (IMG) เพื่อให้ระบบงาน SAP ทำงานได้กับองค์กรนั้นๆ ซึ่งก็คือ SAP เป็น ERP Software Package ที่มีการทำงานในส่วนของ Customization ในระบบ SAP ให้เข้ากับหน่วยงานนั้นๆ ได้

ความสามารถในการทำงานของ SAP

SAP ได้ออกแบบมาให้รองรับการดำเนินงานของธุรกิจ หรือหน่วยงาน ด้วยคุณสมบัติที่หลากหลาย ง่ายต่อการใช้งาน อาทิเช่น
1. การจัดทำเหมืองข้อมูล
2. การจัดทำคลังข้อมูล
3. ระบบบริหารความสัมพันธ์ลูกค้า (Customer Relationship Management: CRM) Integration Business Planning แล้วส่งต่อข้อมูลไปในระบบ ERP ซึ่งสามารถดูผลผ่านทางเว็บเบราว์เซอร์
4. การทำ Strategic Management, Balance Score Card การติดตามและประเมินผล การดำเนินงานตามตัวชี้วัด (KPI) การวิเคราะห์แนวโน้ม การวิเคราะห์สถานภาพปัจจุบัน อดีตและอนาคตขององค์กร

CRM (Customer Relationship Management)

        การบริหารลูกค้าสัมพันธ์ หรือ การบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้า ซึ่งหมายถึงวิธีการที่เราจะบริหารให้ลูกค้ามีความรู้สึกผูกพันกับสินค้า, บริการ หรือองค์กรของเรา เมื่อลูกค้าเค้ามีความผูกพันในทางที่ดีกับเรา แล้วก็ลูกค้านั้นไม่คิดที่จะเปลี่ยนใจไปจากสินค้าหรือบริการของเรา ทำให้เรามีฐานลูกค้าที่มั่นคง และนำมาซึ่งความมั่นคงของบริษัท ดังนั้น การที่จะรู้ซึ้งถึงสถานะความผูกพันกับลูกค้าได้นั้น เราก็ต้องอาศัยการสังเกตพฤติกรรมของลูกค้า แล้วนำมาวิเคราะห์หาความเกี่ยวข้องระหว่าง พฤติกรรมของลูกค้ากับกลยุทธ์ทางการตลาดของเรา

กระบวนการทำงานของระบบ CRM มี 4 ขั้นตอนดังนี้
1. Identify เก็บข้อมูลว่าลูกค้าของบริษัทเป็นใคร เช่น ชื่อลูกค้า ข้อมูลสำหรับติดต่อกับลูกค้า
2. Differentiate วิเคราะห์พฤติกรรมของลูกค้าแต่ละคน และจัดแบ่งลูกค้าออกเป็นกลุ่มตามคุณค่าที่ลูกค้ามีต่อบริษัท
3. Interact มีปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าเพื่อเรียนรู้ความต้องการของลูกค้า และเพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าในระยะยาว
4. Customize นำเสนอสินค้าหรือบริการที่มีความเหมาะสมเฉพาะตัวกับลูกค้าแต่ละคน

ประโยชน์ของระบบ CRM ต่อธุรกิจ

1. ระบบ CRM ช่วยเพิ่มความสามารถในการให้บริการลูกค้าได้ดีขึ้น เช่น ใช้เว็บไซต์ในการให้ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้า วิธีการใช้สินค้า และให้ความช่วยเหลือแก่ลูกค้าได้ตลอด 24 ชั่วโมง เป็นช่องทางให้ลูกค้าแนะนำติชมต่อบริการของบริษัทได้ง่าย ช่วยให้ลูกค้าสามารถ Customize (คัทโทไมต์) ความต้องการของตนเองได้ทันที เป็นต้น

2. ระบบ CRM ช่วยพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทกับลูกค้าให้ดีขึ้น ช่วยให้บริษัทรู้ความสนใจ ความต้องการ และพฤติกรรมการซื้อของลูกค้า ทำให้บริษัทสามารถนำเสนอสินค้าที่เหมาะสม กับลูกค้าได้ และช่วยให้บริษัทสามารถให้บริการหลังการขายแก่ลูกค้าตามที่ลูกค้าต้องการได้ การสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าในระยะยาวจะช่วยเพิ่ม loyalty ที่ลูกค้ามีต่อบริษัท ลดการสูญเสียลูกค้า ลดต้นทุนการตลาด เพิ่มรายได้จากการที่ลูกค้าซื้อซ้ำหรือแนะนำให้คนรู้จักซื้อสินค้าของบริษัท และนั่นหมายถึงกำไรของบริษัทที่เพิ่มมากขึ้น

CRM software มักแบ่งออกเป็น 3 ส่วนดังนี้

1. Operational CRM เป็นซอฟท์แวร์ front office ที่ใช้ช่วยจัดการกระบวนการทางธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับลูกค้า ไม่ว่าจะเป็น sales, marketing หรือ service เช่น การจัดการข้อมูลติดต่อลูกค้า การเสนอราคา การบริหารฝ่ายขาย การเก็บข้อมูลพฤติกรรมลูกค้า ระบบบริการลูกค้า เป็นต้น
2. Analytical CRM ระบบวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้าที่รวบรวมได้จากส่วน Operational CRM หรือจากแหล่งอื่นๆ เพื่อแบ่งลูกค้าออกเป็นกลุ่มและค้นหากลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่บริษัทสามารถนำเสนอสินค้า หรือบริการเพิ่มเติมได้
3. Collaborative CRM ระบบช่วยสนับสนุนในการติดต่อปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าผ่านทางช่องทางต่างๆ เช่น ติดต่อส่วนตัว จดหมาย แฟกซ์ โทรศัพท์ เว็บไซต์ E-Mail เป็นต้น รวมถึงช่วยจัดการทรัพยากรที่บริษัทมีคือพนักงาน กระบวนการทำงาน และฐานข้อมูล หรือ Database (ดาต้าเบส) ลูกค้า เพื่อนำไปให้บริการแก่ลูกค้าและช่วยรักษาฐานลูกค้าของบริษัทได้ดีขึ้น

SCM (Supply Chain Management)

         ระบบการบริหารห่วงโซ่อุปทาน เป็นกระบวนการของการบริหารทุกขั้นตอน นับตั้งแต่การนำเข้าวัตถุดิบสู่กระบวนการผลิต กระบวนการสั่งซื้อ จนกระทั่งส่งสินค้าถึงมือลูกค้าให้มีความต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพสูงสุด พร้อมกับสร้างระบบ ให้เกิดการไหลเวียนของข้อมูลที่ทำให้เกิดกระบวนการทำงานของแต่ละหน่วยงานส่งผ่านไปทั่วทั้งองค์การ การไหลเวียนของข้อมูลยังรวมไปถึงลูกค้า และผู้จัดส่งวัตถุดิบด้วย
         กระบวนการ Supply Chain Management มีส่วนสำคัญที่ช่วยให้องค์การยกระดับความสามารถในการบริหาร เช่น การลดสินค้าคงคลัง การเพิ่มผลิตภาพหรือการลดความสูญเปล่าในกระบวนการทำงาน ส่งเสริมความเติบโตของธุรกิจ เช่น การเพิ่มโอกาสในการออกสินค้าใหม่ให้เร็วขึ้น การเปิดตลาดใหม่ ๆ การสร้างความพอใจแก่ลูกค้ามากขึ้น ส่งเสริมความยั่งยืนของธุรกิจ เช่น การลดต้นทุนธุรกิจ การบริหารเงินทุนหมุนเวียน เป็นต้น
Supply Chain Management  (SCM)  คือ กระบวนการโดยรวมของการไหลของวัสดุ สินค้า ตลอดจนข้อมูล และธุรกรรมต่างๆ ผ่านองค์การที่เป็นผู้ส่งมอบ ผู้ผลิต ผู้จัดจำหน่าย ไปจนถึงลูกค้าหรือผู้บริโภคโดยที่องค์การต่างๆ เหล่านี้ มีความสัมพันธ์ทางธุรกิจต่อกัน

แนวคิดการบริหารห่วงโซ่อุปทาน

1.      เปลี่ยนจากการทำงานตามบทบาทและหน้าที่ของแต่ละผ่ายเป็นการทำงานร่วมกันเป็นกระบวนการ
2.      เปลี่ยนเป้าหมายที่กำไรเป็นการทำงานที่มีเป้าหมายหลายด้าน
3.      เปลี่ยนจากการมุ่งเน้นผลิตภัณฑ์เป็นการมุ่งเน้นลูกค้า
4.      รักษาปริมาณสินค้าคงคลังในระดับที่เหมาะสม และสามารถสนองความต้องการของลูกค้าให้ได้สูงที่สุดโดยใช้ระบบสารสนเทศเชื่อมโยงและแจ้งข้อมูลได้ทันที
5.      สร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างหน่วยธุรกิจต่างๆ ประกอบการติดต่อด้วยสัญญาทางการค้า ใบสั่งสินค้า หรือการเจรจาทางการค้า

โครงสร้างโซ่อุปทาน (Supply Chain Model)

            ลักษณะโครงสร้างของโซ่อุปทานมีอยู่หลายรูปแบบส่วนมากมีลักษณะที่คล้ายๆ กันไม่แตกต่ากันมากนัก  ซึ่งรูปแบบแรกจะมีการไหลในลักษณะของอัปสตรีม จากภาพที่ 1 คือ ผู้จัดจ่ายวัตถุดิบ (Supplier)ถึงผู้กระจายสินค้า(Distributor) และ ดาวน์สตรีม ผู้กระจายสินค้า (Distributor) ถึง ผู้บริโภค(Customer)
        การระบุว่าจุดไหนคืออัปสตรีมนั้น ให้ใช้ตำแหน่งของบริษัทที่พิจารณาเป็นหลัก ผู้กระจายสินค้า  (Distributor) บริษัทที่อยู่ทางด้านซ้าย ทิศทางย้อนไปหาแหล่งวัตถุดิบ จะเรียกว่า อัปสตรีม (Upstream) และเรียกแต่ละจุดบนอัปสตรีมว่า ผู้จัดจ่ายวัตถุดิบ (Supplier) ในทางกลับกัน บริษัทที่อยู่ทางด้านขวา (ทิศทางมุ่งไปหาผู้บริโภค) จะเรียกว่า ดาวน์สตรีม (Downstream) และเรียกแต่ละจุดบนดาวน์สตรีมว่า ผู้บริโภค (Customer)
        การเรียงลำดับส่วนประกอบของโซ่อุปทานจากอัปสตรีมไปยังดาวน์สตรียมอาจจะเรียงได้ดังนี้
1. ผู้จัดจ่ายวัตถุดิบ/ส่วนประกอบ (Raw Material/Component Suppliers)
2. ผู้ผลิต (Manufacturers)
3. ผู้ค้าส่ง/ผู้กระจายสินค้า (Wholesalers/Distributors)
4. ผู้ค้าปลีก (Retailers)

5. ผู้บริโภค (Customer)

การไหลของ Supply Chain มีสามแบบ (ในมุมมองที่ต่างกัน)  ได่แก่

1. การไหลของวัตถุดิบ (Materials flows) หมายถึง ผลิตภัณฑ์ต่างๆ วัตถุดิบ การจัดส่ง และอื่นๆ ที่ไหลไปตามสายโซ่แนวความคิดของ materials flows รวมทั้ง reverseflows-returned products, recycled products และ disposal of materials or products.
2. การไหลของสารสนเทศ (Information flows) หมายถึง ข้อมูลทั้งหมดที่เกี่ยวกับความ ต้องการ การจัดส่ง การสั่งของ การส่งคืน และตารางเวลา (Schedule) เป็นการไหลของสารสนเทศทั้งสิ้น
3. การไหลทางบัญชี (Financial flows) หมายถึง การไหลของข้อมูลทางการบัญชี การเงินทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นการโอนเงิน การจ่ายเงิน การรับเงิน ข้อมูล Credit Card และการอนุมัติวงเงิน ตารางการจ่ายเงิน การจ่ายเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ ที่สัมพันธ์กับข้อมูล

แผนภาพการไหลของโซ่อุปทาน





โครงสร้าง(Supply Chain Management: SCM)

ความสัมพันธ์ของงานจัดซื้อจัดหาในโซ่อุปทาน

วันพุธที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2561

บทที่ 8 ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ




ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ

ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System) 
          
          เป็น ระบบย่อยหนึ่งในระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ โดยที่ระบบสนับสนุนการตัดสินใจจะช่วยผู้บริหารในเรื่องการตัดสินใจใน เหตุการณ์หรือกิจกรรมทางธุรกิจที่ไม่มีโครงสร้างแน่นอน หรือกึ่งโครงสร้าง ระบบสนับสนุนการตัดสินใจอาจจะใช้กับบุคคลเดียวหรือช่วยสนับสนุนการตัดสินใจ เป็นกลุ่ม นอกจากนั้น ยังมีระบบสนับสนุนผู้บริหารเพื่อช่วยผู้บริหารในการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์


คุณสมบัติของ DSS

          พัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบัน ทำให้ DSS สามารถช่วยผู้บริหารในการตัดสินใจแก้ปัญหา โดยนำข้อมูลที่จำเป็น แบบจำลองในการตัดสินใจที่สำคัญ และชุดคำสั่งที่ง่าย
ต่อการใช้งานรวมเข้าเป็นระบบเดียว เพื่อสะดวกต่อในการใช้งานของผู้ใช้ โดยที่ DSS ที่เหมาะสม
ควรมีคุณลักษณะ ดังนี้
1. ง่ายต่อการเรียนรู้และใช้งาน เนื่องจากผู้ใช้อาจมีทักษะทางสารสนเทศที่จำกัด ตลอดจนความเร่งด่วนในการใช้งานและความต้องการของปัญหา ทำให้ DSS ต้องมีความสะดวกต่อผู้ใช้

2. สามารถโต้ตอบกับผู้ใช้ได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ โดยที่ DSS ที่ดีต้องสามารถสื่อสารกับผู้ใช้อย่างฉับพลัน โดยตอบสนองความต้องการและโต้ตอบกับผู้ใช้ได้ทันเวลา โดยเฉพาะ
ในสถานการณ์ปัจจุบัน ที่ต้องการความรวดเร็วในการแก้ปัญหา

3. มีข้อมูล และแบบจำลองสำหรับสนับสนุนการตัดสินใจที่เหมาะสมและสอดคล้องกับ
ลักษณะของปัญหา

4. สนับสนุนการตัดสินใจแบบกึ่งโครงสร้าง และไม่มีโครงสร้าง ซึ่งแตกต่างจากระบบสารสนเทศสำหรับปฏิบัติ งานที่จัดการข้อมูลสำหรับงานประจำวันเท่านั้น

5. มีความยืดหยุ่นที่จะสนองความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปของผู้ใช้ เนื่องจากลักษณะของ
ปัญหาที่มีความไม่แน่นอน และเปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์ในหลายลักษณะ จึงต้องการระบบสารสนเทศที่ช่วยจัดรูปข้อมูลที่ไม่ซับซ้อนและง่ายต่อการตัดสินใจ
คุณสมบัติของ DSS สร้างความเป็นเอกลักษณ์ในการทำงานของระบบ ซึ่งสอดคล้องกับ
ความต้องการของธุรกิจ ปัจจุบัน ดังจะเห็นได้จากหลายองค์การสนับสนุนให้มีการพัฒนาหรือซื้อ
ระบบสารสนเทศที่ช่วยให้การตัดสินใจของผู้บริหารมีประสิทธิภาพขึ้น

ส่วนประกอบของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
ส่วนประกอบของระบบสนับสนุนการตัดสินใจที่สำคัญ แบ่งออกได้เป็น 4 ส่วน


ส่วนประกอบของระบบการตัดสินใจ




ระบบย่อยในการจัดการข้อมูล (Data management subsystem) ได้แก่ฐานข้อมูลที่บรรจุข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์นั้นๆ และถูกจัดการโดยซอฟต์แวร์ที่เรียกว่า ระบบจัดการฐานข้อมูล (Database Management Systems : DBMS)

ระบบย่อยในการจัดการตัวแบบ (Model management subsystem) เป็นชุดซอฟต์แวร์สำเร็จรูปที่รวมการทำงานเช่น การทำงานด้านการเงิน, สถิติ, วิทยาการการจัดการ หรือตัวแบบเชิงปริมาณอื่นๆ ที่มีความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูล และมีซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการจัดการที่เหมาะสม เรียกว่า ระบบจัดการ ฐานตัวแบบ (Model base management system : MBMS)

ระบบย่อยในการจัดการความรู้ (Knowledge management subsystem) เป็นระบบย่อยซึ่งสนับสนุนระบบย่อยอื่นๆ หรือเป็นส่วนประกอบแบบอิสระไม่ขึ้นกับองค์ประกอบอื่นๆ ช่วยให้ข้อมูลหรือความรู้แก่ ผู้ตัดสินใจ

ระบบย่อยในการติดต่อกับผู้ใช้ (User interface subsystem) ผู้ใช้สามารถติดต่อสื่อสารและสั่งงานระบบสนับสนุนการตัดสินใจโดยผ่านระบบย่อยนี้

1.ระบบย่อยในการจัดการข้อมูล

ข้อมูลในระบบสนับสนุนการตัดสินใจนั้นมีหลายระดับ ได้แก่ข้อมูล (Data), สารสนเทศ (Information), และความรู้ (Knowledge) โดยข้อมูลต่างๆ เหล่านี้อาจมีแหล่งกำเนิดจากภายใน ภายนอกองค์กร หรือเป็นข้อมูลส่วนบุคคล ที่เข้ามายังระบบสนับสนุนการตัดสินใจ จะถูกนำเข้าสู่ระบบย่อยในการจัดการข้อมูล ซึ่งแบ่งส่วนออกเป็นส่วนๆ คือ ฐานข้อมูลของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (DSS Database), ระบบจัดการฐานข้อมูล (Database Management System), ไดเรกทอรีข้อมูล (Data Directory) และสิ่งอำนวยความสะดวกในการสอบถามข้อมูล (Query Facility)

ระดับข้อมูล
1. ข้อมูล (Data) ได้แก่ สิ่งของ เหตุการณ์ กิจกรรม และรายการที่ถูกบันทึก ถูกแยกประเภท และถูกเก็บ แต่ไม่มีการถ่ายทอดความหมายใดๆ ออกมา ข้อมูลอาจเป็นตัวเลข ตัวอักษร เสียง หรือรูปภาพ
2. สารสนเทศ (Information) คือ ข้อมูลที่ถูกจัดการเพื่อแสดงความหมายของข้อมูลออกมายังผู้ที่ได้รับ ข้อมูลนั้น
3. ความรู้ (Knowledge) ประกอบด้วยข้อมูลซึ่งถูกจัดการและประมวลผลเพื่อถ่ายทอดความเข้าใจ ประสบการณ์ การเรียนรู้ และความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับปัญหา หรือกิจกรรมต่างๆ

แหล่งข้อมูล
1.ข้อมูลภายใน (Internal Data) ได้แก่ ข้อมูลที่ถูกเก็บอยู่ในที่ต่างๆภายในองค์กร หรือได้มาจากระบบประมวลผลรายการ (transaction processing system) ขององค์กร มีลักษณะเป็นข้อมูลที่มีแหล่งกำเนิดมาจาก การปฏิบัติงานภายในองค์กร หรือได้จากเครือข่ายอินทราเน็ต (Intranet) เป็นข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ บุคคล, ผลิตภัณฑ์, บริการ และขบวนการ ต่างๆ เช่น ข้อมูลบัญชีเงินเดือน ข้อมูลด้านการตลาด การผลิต และข้อมูลบุคคล หรือข้อมูล การจัดตารางการขายในอนาคต ค่าใช้จ่ายเมื่อสินค้าขาดสต๊อก แผนในการจ้างคน เป็นต้น

2.ข้อมูลภายนอก (External Data) เป็นข้อมูลที่มีที่มาจากภายนอกองค์กร เช่น ข้อมูลจากธนาคารข้อมูลเชิงพาณิชย์ (Commercial Data Bank) จากรัฐบาลต่างประเทศ องค์การการค้า บริษัทวิจัยตลาด บริษัทวิเคราะห์เศรษฐกิจ หรืออาจมาจากหน่วยงานภายในองค์กรที่รวบรวมข้อมูลภายนอกอีกทีหนึ่ง หรือได้จากเครือข่ายอินเทอร์เน็ต(Internet) รวบรวมได้จากดาวเทียม ซีดีรอม ภาพยนตร์ ดนตรี หรือจากเสียง อาจเป็นรูปภาพ แผนภาพ แผนที่ ตัวอย่าง เช่น ข้อมูลด้านอุตสาหกรรม, ข้อมูลการวิจัยตลาด,ข้อมูลสำมโนประชากร, ข้อมูลการใช้พื้นที่, ข้อกำหนดของรัฐบาล, ตารางอัตราภาษี หรือข้อมูลเศรษฐกิจชาติ 

3.ข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data) เป็นข้อมูลส่วนตัว จากความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านหรือความคิดเห็นของ ผู้ใช้ เป็นข้อมูลประจำตัวของผู้ตัดสินใจ ที่มีต่อเหตุการณ์หนึ่งๆ ได้แก่แนวทางในการตัดสินใจ หรือ ความกล้าใน การตัดสินใจ

ส่วนประกอบในระบบย่อยในการจัดการข้อมูล
ส่วนประกอบในระบบย่อยในการจัดการข้อมูลมี 4 ส่วน


1. ฐานข้อมูล (Database) เป็นกลุ่มของข้อมูลที่เกี่ยวข้องกัน ซึ่งเป็นไปตามความต้องการและโครงสร้างขององค์กร และสามารถถูกใช้ได้โดยบุคคลหลายๆ คนและหลายๆ แอพพลิเคชั่น (application) ในระบบสนับสนุนการตัดสินใจอาจจะใช้ข้อมูลจากฐานข้อมูลมากกว่าหนึ่งฐานข้อมูลได้ ขึ้นอยู่กับแหล่งข้อมูลที่มีข้อมูลที่ต้องการ ในระบบสนับสนุนการตัดสินใจขนาดเล็กสามารถใส่ข้อมูลโดยตรงลงในตัวแบบ หรือสามารถดึงข้อมูล (extract) ได้แก่การนำเข้าไฟล์ การสรุปข้อมูล การกรองข้อมูล และการย่อยข้อมูล จากฐานข้อมูลที่มีขนาดใหญ่กว่ามาใช้ หรือใช้ข้อมูลจากคลังข้อมูล (data warehouse)ขององค์กรก็ได้ ส่วนในระบบสนับสนุนการตัดสินใจขนาดใหญ่มักจะรวบรวมข้อมูลจากฐานข้อมูลที่มาจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ไว้เป็นของตนเอง

2. ระบบจัดการฐานข้อมูล ( Database Management System : DBMS) เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่ในการสร้าง, เข้าถึง และปรับปรุงฐานข้อมูล โดยความสามารถของระบบจัดการฐานข้อมูลในระบบสนับสนุนการตัดสินใจ มีดังนี้ 

2.1 ดึงข้อมูลจากฐานข้อมูลของระบบสนับสนุนการตัดสินใจได้
2.2 ปรับปรุง (เพิ่ม ลบ แก้ไข เปลี่ยน) เรคอร์ดหรือแฟ้มข้อมูลได้
2.3 สร้างความสัมพันธ์ระหว่างแหล่งข้อมูลต่างๆ ได้
2.4 ดึงข้อมูลจากฐานข้อมูลเพื่อทำแบบสืบค้น(Query) และรายงานได้
2.5 สามารถจัดการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลได้
2.6 ผู้ใช้สามารถทำการทดลองข้อมูลที่ต้องการใช้ในการตัดสินใจได้
2.7 สามารถทำการสืบค้นที่ซับซ้อนได้
2.8 สามารถติดตามการใช้ข้อมูลใน DSS ได้
2.9 สามารถจัดการข้อมูลผ่านดิกชันนารีข้อมูล (Data Dictionary) ได้ โดยที่ดิกชันนารีข้อมูลใช้สำหรับแสดงคำจำกัดความของข้อมูล

3. ไดเรกทอรีข้อมูล (Data Directory) เป็นรายการข้อมูลทั้งหมดในฐานข้อมูล ประกอบด้วยคำจำกัดความของข้อมูล และการทำงานหลักที่ใช้ตอบคำถามเกี่ยวกับการมีอยู่ของข้อมูลนั้น แหล่งที่มาของข้อมูล และความหมายที่แท้จริงของข้อมูลนั้นๆ เป็นส่วนที่ช่วยสนับสนุนขั้นตอนการระบุปัญหา(intelligence) ในขบวนการตัดสินใจ โดยการช่วยตรวจหาข้อมูลและ ช่วยระบุปัญหาหรือโอกาสที่มี

4. สิ่งอำนวยความสะดวกในการสอบถามข้อมูล (Query Facility) เป็นส่วนที่ทำการเข้าถึง ใช้งาน และสืบค้นข้อมูลโดยรับคำร้องของข้อมูลจากส่วนประกอบต่างๆ ของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ และพิจารณาว่าทำอย่างไรจึงจะได้ข้อมูลนั้น, กำหนดรายละเอียดของคำร้องขอ และส่งผลลัพธ์กลับไปยังผู้ร้องขอ หน้าที่สำคัญของระบบสืบค้นในระบบสนับสนุนการตัดสินใจ คือ การเลือกและการทำงานกับข้อมูล

          นอกจากส่วนประกอบหลักๆ ในระบบย่อยในการจัดการข้อมูลที่กล่าวมาแล้วนี้ ยังมีเทคโนโลยีที่เข้ามา เกี่ยวข้องในการจัดการข้อมูลที่สำคัญ เช่นการทำคลังข้อมูล(Data Warehousing), การประมวลผลเชิงวิเคราะห์แบบออนไลน์ (Online Analytical Processing : OLAP) หรือการทำเหมืองข้อมูล(Data Mining) ซึ่งจะกล่าวถึง รายละเอียดเหล่านี้ในตอนที่ 4

2.ระบบย่อยในการจัดการตัวแบบ 

          ในระบบย่อยในการจัดการตัวแบบประกอบด้วยส่วนต่างๆ ได้แก่ ฐานตัวแบบ (Model base), ระบบจัดการฐานตัวแบบ (Model base management system), ภาษาในการสร้างตัวแบบ (Modeling language), ไดเรกทอรีตัวแบบ (Model directory), และการใช้งานการรวบรวมและคำสั่งในตัวแบบ (Model execution, integration, and command)




1. ฐานตัวแบบ (Model Base) ได้แก่ ตัวแบบทางสถิติที่เกิดขึ้นบ่อยๆ หรือเกิดขึ้นเป็นเฉพาะกรณี เช่น ตัวแบบทางการเงิน ตัวแบบในการพยากรณ์ ตัวแบบทางด้านวิทยาการการจัดการ หรือตัวแบบเชิงปริมาณอื่นๆ ที่มีความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูล ในระบบสนับสนุนการตัดสินใจ แบ่งลักษณะตัวแบบออกเป็น

1.1 ตัวแบบเชิงกลยุทธ์ (Strategic models) ใช้เพื่อสนับสนุนการวางแผนกลยุทธ์ ในการจัดการระดับสูง เป็นตัวแบบเพื่อใช้ในการวางแผนระยะยาว ส่วนมากใช้ข้อมูลจากภายนอก ตัวอย่างเช่น การพัฒนา วัตถุประสงค์ขององค์การ การวางแผนในการรวมบริษัท การเลือกทำเลของโรงงาน การวิเคราะห์ ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และการทำงบประมาณของงานที่ไม่ใช่งานประจำ

1.2 ตัวแบบเชิงยุทธวิธี (Tactical models) ใช้ในการจัดการระดับกลาง เพื่อช่วยในการจัดสรรและควบคุมทรัพยากรขององค์กร มักใช้กับระบบย่อยภายในองค์กร เช่นแผนกบัญชีใช้สำหรับวางแผนระยะ 1-2 ปี ใช้ข้อมูลจากภายในและบางครั้งอาจต้องใช้ข้อมูลจากภายนอก ตัวอย่าง เช่น การวางแผนความต้องการ ผู้ใช้แรงงาน การวางแผนสนับสนุนการขาย การวาง
โครงสร้างของโรงงาน และการทำงบประมาณต้นทุนของงานประจำ

1.3 ตัวแบบเชิงปฏิบัติการ (Operational models) ใช้สนับสนุนการทำงานรายวันขององค์กร สนับสนุนการตัดสินใจรายวัน หรือรายเดือนของผู้จัดการระดับล่าง มักใช้ข้อมูลภายใน ตัวอย่างเช่น การพิสูจน์หลักฐานการกู้เงินของบุคคล ของธนาคาร การจัดตารางการผลิตการควบคุมสินค้าคงคลัง การวางแผนและการจัดตารางการดูแลรักษา และการควบคุมคุณภาพ

1.4 ตัวแบบสำเร็จรูป (Model-building blocks) ใช้เสริมการทำงานของตัวแบบทั้ง 3 ข้างต้น ตัวอย่าง เช่น โปรแกรมย่อยสำหรับสร้างตัวเลขสุ่ม, โปรแกรมย่อยสำหรับคำนวณหาค่าปัจจุบัน, การวิเคราะห์ความ ถดถอย (regression analysis) หรืออาจใช้เป็นส่วนประกอบของตัวแบบขนาดใหญ่ ตัวอย่าง เช่น การหาค่าปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของตัวแบบสำหรับตัดสินใจว่าจะทำเองหรือจะซื้อ

2. ระบบจัดการฐานตัวแบบ (Model base management system : MBMS) ทำหน้าที่ในการสร้างตัวแบบ โดยใช้โปรแกรมย่อย และโปรแกรมย่อยสำเร็จรูปอื่นๆ ที่มีอยู่แล้ว หรือทำการสร้างโปรแกรมย่อยหรือรายงานใหม่ ทำการปรับปรุงตัวแบบ เปลี่ยนตัวแบบ และใช้ข้อมูลกับตัวแบบ
เป็นส่วนที่ทำหน้าที่เชื่อมตัวแบบกับฐานข้อมูล

3. ภาษาในการสร้างตัวแบบ (Modeling language) เช่น ภาษาโคบอล (COBOL) หรือใช้โปรแกรมประเภทแผ่นงาน(Spreadsheet) หรือใช้ภาษารุ่นที่สี่ (The fourth Generation Language : 4GL)หรือภาษาพิเศษสำหรับการสร้างตัวแบบ เช่น IFPS/Plus

4. ไดเรกทอรีตัวแบบ (Model directory) เป็นรายการของตัวแบบและซอฟต์แวร์ทั้งหมดในฐานตัวแบบ ประกอบด้วยคำจำกัดความของตัวแบบ และการทำงานหลักคือการตอบคำถามเกี่ยวกับการมีอยู่ และ ความสามารถของตัวแบบ 

5. การใช้งาน การรวบรวมและคำสั่งในตัวแบบ (Model execution, integration, and command) การใช้งานตัวแบบ (Model Execution) เป็นขบวนการในการควบคุมการทำงานจริงๆ ของตัวแบบการรวบรวมตัวแบบ(Model Integration) เป็นการรวมการทำงานของหลายๆตัวแบบเข้าด้วยกัน และตัวประมวลผลคำสั่งในตัวแบบ(A model Command processor) ใช้ในการรับ และแปลคำสั่งของตัวแบบจากส่วนรับคำสั่ง ให้กับ ระบบจัดการฐานตัวแบบ (MBMS), ส่วนการใช้งานตัวแบบ (model execution) หรือ ส่วนรวบรวม (integration function)

การทำตัวแบบและการวิเคราะห์
ในการทำตัวแบบจะมีขั้นตอน ต่างๆ ดังนี้

1. ระบุปัญหา และวิเคราะห์สภาพแวดล้อม หมายถึง การตรวจสอบ, พิจารณา และ การตีความหมายของข้อมูลที่รวบรวมมา โดยมักจะสามารถนำไปใช้ในการวิเคราะห์ขอบเขต, สาระสำคัญหลัก และอิทธิพลและความผันแปรของสภาพแวดล้อม โดยจำเป็นต้องพิจารณาถึงวัฒนธรรมและขบวนการตัดสินใจขององค์กรด้วย (เช่น ใครเป็น ผู้ตัดสินใจ, ระดับของความเป็นศูนย์กลาง ฯลฯ)

2. ระบุตัวแปร หมายถึงการระบุตัวแปรที่สำคัญของตัวแบบ และความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร

3. การพยากรณ์ (forcasting) หมายถึงการพยากรณ์ผลของการตัดสินใจที่จะได้จากตัวแบบ
ตัวแบบที่สร้างขึ้นสำหรับปัญหาใดๆ อาจจะประกอบไปด้วยหลายๆตัวแบบรวมเข้าด้วย บางตัวเป็นตัวแบบมาตรฐานและถูกสร้างไว้ในซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจอยู่แล้ว บางตัวเป็นตัวแบบ มาตรฐานแต่ไม่ได้มีอยู่เหมือนกับฟังก์ชันที่สามารถเรียกใช้ได้เลย (built-in functions) แต่เป็นลักษณะของซอฟต์แวร์อิสระที่สามารถเชื่อมต่อเข้ากับระบบสนับสนุนการตัดสินใจได้
ในการสร้างตัวแบบและการจัดการตัวแบบได้แก่การดูแลเรื่องความคงสภาพ ความสามารถในการนำไปใช้งานนั้นจะถูกจัดการโดยซอฟต์แวร์ที่เรียกว่าซอฟต์แวร์จัดการฐานตัวแบบ (Model Base Management Software) โดยในระบบสนับสนุนการตัดสินใจส่วนมากจะใช้ตัวแบบเชิงปริมาณ แต่ถ้าเป็นปัญหาที่ซับซ้อนมากอาจใช้ร่วมกับระบบ ผู้เชี่ยวชาญซึ่งจะใช้ตัวแบบเชิงคุณภาพที่มีการทำตัวแบบฐานความรู้ (Knowledge-based Modeling) ขึ้นมาใช้งานร่วมด้วย

ประเภทของตัวแบบ
แบ่งได้เป็น 2 ประเภทตามการขึ้นต่อช่วงเวลาที่เกิดสถานการณ์ ดังนี้

1. ตัวแบบคงตัว (Satatic models) ใช้กับสถานการณ์หนึ่งๆ โดยในการเกิดสถานการณ์นั้นจะเกิดขึ้นในช่วงเพียง ช่วงเดียว ซึ่งอาจจะเป็นช่วงสั้นๆ หรือช่วงระยะยาวก็ได้ ตัวอย่างเช่น การตัดสินใจว่าจะทำหรือซื้อผลิตภัณฑ์ ใบแสดงรายได้รายไตรมาสหรือรายปี

2. ตัวแบบผันแปร (Dynamic model) ใช้กับสถานการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ตัวอย่างเช่น การวางแผนโครงการกำไรและขาดทุนในระยะห้าปี ซึ่งมีข้อมูลเข้า เช่น ค่าใช้จ่าย, ราคา และปริมาณที่ เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละปี หรือเป็นตัวแบบที่แบบสถานการณ์ที่ขึ้นอยู่กับเวลาด้วย เช่น ในการพิจารณาว่าจะต้องมีจุดตรวจสอบสินค้ากี่จุดในซุปเปอร์มาร์เก็ต เป็นสถานการณ์ที่จำเป็นจะต้องพิจารณาช่วงเวลาของวัน เพราะในแต่ละช่วงเวลามีการ เปลี่ยนแปลงจำนวนคนที่เข้ามาในซุปเปอร์มาร์เก็ตไม่เหมือนกัน และ ตัวแบบผันแปรนี้ยังสามารถใช้ในการแสดงแนวโน้มและรูปแบบที่เกิดขึ้นได้ เช่น แสดงค่าเฉลี่ยต่อ ช่วงเวลา, การเปลี่ยนแปลงค่าเฉลี่ย และการวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบ (ตัวอย่างเช่น กำไรในไตรมาสนี้เทียบกับ ไตรมาสเดียวกันในปีที่แล้ว)

ถ้าแบ่งประเภทของตัวแบบตามลักษณะความแน่นอนในการเกิดของสถานการณ์ สามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้

1. ตัวแบบที่แน่นอน (Certainty Models) เป็นตัวแบบที่ถูกสร้างขึ้นและใช้งานภายใต้สมมติฐานที่จะเกิดเหตุการณ์ใดๆ แน่นอน จึงง่ายในการทำงานด้วยและสามารถให้ทางแก้ปัญหาที่เหมาะสมที่สุด เช่น แบบจำลองด้านการเงิน ตัวแบบลักษณะนี้นิยมใช้กับปัญหาที่มีทางแก้ปัญหาที่เป็นไปได้ไม่จำกัด (หรือมีเป็นจำนวนมาก)

2. ตัวแบบที่ไม่แน่นอน (Uncertainty Models) เป็นตัวแบบใช้ในกรณีที่ไม่มีความแน่นอนว่าจะเกิด เหตุการณ์ใดขึ้นกับเหตุการณ์ที่สนใจ เพื่อที่จะหลีกเลี่ยงความไม่แน่นอนให้มากที่สุด จะต้องพยายามหาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อที่จะ จัดการแก้ปัญหานั้นๆ ได้โดยมีแนวทางที่แน่นอนมากขึ้น ถ้าไม่สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ จะต้องจัดการแก้ปัญหาทั้งที่มีความไม่แน่นอน ซึ่งจะมีความเสี่ยงสูงขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้ตัดสินใจ

3. ตัวแบบที่มีความเสี่ยง (Risk Models) เป็นตัวแบบใช้ในกรณีที่ทราบข้อมูลในการเกิดเหตุการณ์ที่ เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ที่สนใจเป็นบางส่วน ทำให้สามารถคำนวณค่าความเสี่ยงเมื่อเกิดเหตุการณ์นั้นๆ ได้ และทำให้มีแนวทางในการตัดสินใจมากขึ้น การตัดสินใจทางธุรกิจส่วนมากถูกทำภายใต้ความเสี่ยงที่ถูกสมมติขึ้น และทำการวิเคราะห์ความเสี่ยงเหล่านั้นเพื่อทำการตัดสินใจ

ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence :AI) คือการสร้างความฉลาดให้กับสิ่งไม่มีชีวิต เพื่อให้สามารถคิด ทำงาน และเรียนรู้ได้เอง โดยมีจุดประสงค์หลักก็ทำเพื่อให้มันสามารถทำงานแทนมนุษย์ได้ ในช่วงเริ่มแรกมักจะนำมาใช้ในงานที่ต้องทำซ้ำๆ หรือเป็นงานที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อมนุษย์หรือสิ่งมีชีวิตได้ มีการแบ่งหรือจำแนก AI ออกมาเป็นหลายๆ แบบ ตามคุณลักษณะต่างๆ ของ แต่การแบ่ง AI ตามระดับความสามารถและสติปัญญาดูจะเข้าใจง่ายและใช้กันแพร่หลาย ซึ่งมีการจำแนกออกเป็น 3 ระดับ ดังนี้
1. Artificial Narrow Intelligence (ANI) หรืออาจจะเรียกว่า Weak AI ซึ่งเป็น AI “ปัญญาประดิษฐ์” :ซึ่งมีระดับระดับสติปัญญาที่มีความสามารถในการทำงานได้ในเรื่องแคบๆอยู่ในวงจำกัด เรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่นในปี 1997 IBM สร้างคอมพิวเตอร์เครื่องแรกที่สามารถเอาชนะแชมป์หมากรุกได้ ในยุคปัจจุบัน Google สามารถสร้างรถยนต์ไร้คนขับได้ SIRI ของแอปเปิ้ลสามารถสื่อสารพูดคุยกับคนได้ นั่นก็สามารถทำได้เพียงแต่แค่นั้น มันยังคงไม่มีความสามารถ และมีสติปัญญาคิดไปทำอย่างอื่นในขอบเขตที่กว้างไกลใกล้เคียงมนุษย์ได้

2. Artificial General Intelligence (AGI) อาจเรียกว่า Strong AI ซึ่งเป็นสติปัญญาเทียบเท่ามนุษย์ เป็น AI ปัญญาประดิษฐ์ ที่ความสามารถในการทำงานได้เทียบเท่ากับสมองมนุษย์ ในปัจจุบันเรายังไม่สามารถสร้าง AGI ได้ แต่ศาสตราจารย์ Linda Gottfredson ได้อธิบายว่า AGI ปัญญาประดิษฐ์ในระดับนี้เป็นความสามารถทั่วไปเกี่ยวกับจิตใจความนึกคิดมากกว่าอย่างอื่น โดยจะเกี่ยวข้องกับ ความสามารถในการเรียนรู้ วางแผน การแก้ปัญหา รู้จักคิดในเชิงนามธรรม มีความคิดที่สลับซับซ้อน เรียนรู้ได้เร็ว เรียนรู้จากประสบการณ์ โดยปัญญาประดิษฐ์ในระดับ AGI จะสามารถทำได้อย่างง่ายดายเหมือนกับที่มนุษย์ทำได้

3. Artificial Superintelligence (ASI) เราอาจเรียก ASI ซุปเปอร์ปัญญาประดิษฐ์ มีปัญญาเหนือมนุษย์ Nick Bostrom จากออกฟอร์ดซึ่งเป็นนักปรัชญาและผู้นำด้านความคิดด้าน AI ให้คำจำกัดความของ ASI ว่ามันจะฉลาดและมีปัญญามากกว่าสมองมนุษย์ที่ดีที่สุดในทุกๆด้าน รวมไปถึงความคิดสร้างสรรค์ในทางวิทยาศาสตร์ เรื่องทั่วๆ ไป แม้กระทั่งความสามารถในการเข้าสังคม

ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (Executive Information Systems : EIS)

        การที่นำระบบคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ในการดำเนินงานทางธุรกิจ การจัดการระบบสารสนเทศได้รับการยอมรับว่ามีความสำคัญต่อความสำเร็จในการ ดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยสร้างความแข็งแกรงเชิงกลยุทธ์ โดยพัฒนาความสามารถในการแข่งขันให้กับองค์การ เทคโนโลยีสารสนเทศถูกนำมาประยุกต์ให้การปฏิบัติงานในระดับต่างๆ ขององค์การมีประสิทธิภาพสูงขึ้น เช่น การผลิต การขาย การตลาด การจัดการทางการเงิน และทรัพยากรบุคคล ประการสำคัญหลายองค์การได้ให้ความสนใจในการพัฒนาระบบสารสนเทศสำหรับผู้ บริหาร เพื่อให้การตัดสินใจในปัญหาหรือโอกาสทางธุรกิจมีประสิทธิภาพสูงขึ้น ซึ่งจะช่วยสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันให้กับองค์การระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (Executive Information Systems) 
          หรือที่เรียกว่า EIS  หมายถึง ระบบสารสนเทศที่ถูกพัฒนาขึ้นโดยเฉพาะ เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการ ทักษะ และความสามารถในการเข้าถึงสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร เนื่องจากผู้บริหารเป็นกลุ่มบุคคลที่ต้องการข้อมูลที่มีลักษณะเฉพาะ โดยเฉพาะด้านระยะเวลาในการเข้าถึงและทำความเข้าใจกับข้อมูล โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงและการแข่งขันทางธุรกิจที่เกิดขึ้นและปรับตัวอย่าง รวดเร็วในปัจจุบันได้สร้างแรงกดดันให้ผู้บริหารต้องตัดสินใจภายใต้ข้อจำกัด ของทรัพยากรทางการจัดการ ระยะเวลา ข้อมูล และการดำเนินงานของคู่แข่งขัน นอกจากนี้ผู้บริหารหลายคนยังมีความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยี สารสนเทศที่จำกัด โดยเฉพาะผู้บริหารระดับสูงที่มีอายุมากและไม่มีโอกาสได้พัฒนาความรู้ ความเข้าใจ และทักษะด้านการใช้งานสารสนเทศ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาและออกแบบระบบสารสนเทศที่สามารถช่วย ให้ผู้บริหารปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ ระบบข้อมูลสำหรับผู้บริหารต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร บางครั้งจะเรียกว่า ระบบสนับสนุนผู้บริหาร (Executive Support System) หรือ ESS

คุณสมบัติของระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร

          เพื่อให้การใช้งานของระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารเกิดประโยชน์ สูงสุด ดังนั้น ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารควรมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้

1. สนับสนุนการวางแผนกลยุทธ์ (Strategic Planning Support) การพัฒนาระบบ EIS ผู้พัฒนาจะต้องมีความรู้ในเรื่องกลยุทธ์ธุรกิจ (Business Strategy) และปัจจัยสำคัญในการวางแผนกลยุทธ์ (Strategic Factors) เพื่อที่จะสามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการช่วยเพิ่มประสิทธ์ภาพในการกำหนดแผนทางกลยุทธ์ที่สมบูรณ์

2. เชื่อมโยงกับสิ่งแวดล้อมภายนอกองค์กร (External Environment Focus) เนื่องจากข้อมูล หรือสารสนเทศ เป็นสิ่งสำคัญมากที่จะนำมาประกอบการตัดสินใจของผู้บริหาร ดังนั้น EIS ที่ ดี จะต้องมีการใช้ฐานข้อมูลขององค์การได้อย่างรวดเร็วแล้ว ยังจะต้องออกแบบให้สามารถเชื่อมโยงกับแหลงข้อมูลที่มาจากภายนอกองค์การ เพื่อให้ได้ซึ่งข้อมูลที่สำคัญที่จำเป็นต่อการตัดสินใจของผู้บริหาร

3. มีความสามารถในการคำนวณภาพกว้าง (Broad-based Computing Capabilities) การ ตัดสินใจของผู้บริหารส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับปัญหาที่มีโครงสร้างไม่แน่นอนและ ขาดความชัดเจน โดยส่วนใหญ่จะมองถึงภาพโดยรวมของระบบแบบกว้าง ๆ ไม่ลงลึกในรายละเอียด ดังนั้นการคำนวณที่ผู้บริหารต้องการจึงเป็นลักษณะง่าย ๆ ชัดเจน เป็นรูปธรรม และไม่ซับซ้อนมาก เช่น การเรียกข้อมูลกลับมาดู การใช้กราฟ การใช้แบบจำลองแสดงภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

4. ง่ายต่อการเรียนรู้และใช้งาน (Exceptional Ease of Learning and Use) ผู้บริหารจะมีกิจกรรมที่หลากหลายทั้งภายในและภายนอกองค์การ ผู้บริหารจึงมีเวลาในการตัดสินใจในแต่ละงานน้อยหรือกล่าวได้ว่าเวลาของผู้ บริหารมีค่ามาก ดังนั้นการพัฒนา EIS จะต้องเลือกรูปแบบการ แสดงผลหรือการโต้ตอบกับผู้ใช้ในแนวทางที่ง่ายต่อการใช้งาน และใช้ระยะเวลาสั้น เช่น การแสดงผลรูปกราฟ ภาษาที่ง่าย และการโต้ตอบที่รวดเร็ว

5. พัฒนาเฉพาะสำหรับผู้บริหาร (Customization)การ ตัดสินใจของผู้บริหารส่วนใหญ่จะมีความสัมพันธ์ต่อพนักงานอื่น และต่อการดำเนินธุรกิจขององค์การ ซึ่งเป็นสิ่งที่นักวิเคราะห์และออกแบบระบบ (System Analyst and Designer) ต้องคำนึงถึงในการพัฒนา EIS เพื่อให้สามารถพัฒนา EIS ให้มีศักยภาพสูง มีประสิทธิภาพดีเหมาะสมกับการใช้งานและเป็นแบบเฉพาะสำหรับผู้บริหารที่จะเข้าถึงข้อมูลได้ตามต้องการ

ข้อดีของระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร

1. ง่ายต่อการใช้งานของผู้ใช้โดยเฉพาะผู้บริหารระดับสูง
2. ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องมีความรู้อย่างลึกซึ้งในเรื่องคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
3. ค้นหาสารสนเทศที่ต้องการได้ในเวลาสั้น
4. ช่วยให้ผู้ใช้เข้าใจสารสนเทศที่นำเสนออย่างชัดเจน
5. ประหยัดเวลาในการดำเนินงานและการตัดสินใจ
6. สามารถติดตามและจัดการสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ

ข้อจำกัดของระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร

1. มีข้อจำกัดในการใช้งาน เนื่องจาก EIS ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อใช้งานเฉพาะอย่าง
2. ข้อมูลและการนำเสนออาจไม่สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริหาร
3. ยากต่อการประเมินประโยชน์และผลตอบแทนที่องค์การจะได้รับ
4. ไม่ถูกพัฒนาให้ทำการประมวลผลที่ซับซ้อนและหลากหลาย
5. ซับซ้อนและยากต่อการจัดการข้อมูล
6. ยากต่อการรักษาความทันสมัยของข้อมูลและของระบบ
7. ปัญหาด้านการรักษาความลับของข้อมูล




วันอังคารที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2561

CASE STUDY QUESTIONS




รายชื่อสมาชิก
  1. นายสรศักดิ์              ประพันธ์อนุรักษ์         รหัสนักศึกษา 58127328003
  2. นางสาวอรยา            สุขคุ้ม                        รหัสนักศึกษา 58127328005
  3. นางสาวธัญนันท์         ริชะนะ                      รหัสนักศึกษา 58127328008
  4. นางสาวอาภาภรณ์      ศรีโชค                     รหัสนักศึกษา 58127328014
  5. นางสาวธัญณิชา         พูลสมบัติ                 รหัสนักศึกษา 58127328017
  6. นางสาวจุฑามาศ        ปู่น้อย                       รหัสนักศึกษา 58127328023


CASE 1 : WILL MOBILE TECHNOLOGY PUT ORBITZ IN THE LEAD

1. ความสำคัญของเทคโนโลยีโทรศัพท์มือถือในกลยุทธ์ทางธุรกิจของ Orbitz
          เทคโนโลยีโทรศัพท์มือถือเป็นสิ่งสำคัญสำหรับยุทธศาสตร์ทางธุรกิจของ Orbitz นับตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง Orbitz ก็ประสบความสำเร็จในฐานะผู้นำด้านเทคโนโลยีมือถือ การใช้เทคโนโลยีมือถือทำให้ Orbitz สามารถลดต้นทุนของพวกเขาได้ รองรับกับการจองโรงแรมผ่านอุปกรณ์มือถือที่เติบโตขึ้นทุกวัน ในปัจจุบันนักท่องเที่ยวนิยมจองผ่านแอพพลิเคชั่นหรือเว็บไซต์บนมือถือ
Orbitz.com เป็นแอพพลิเคชั่นบนมือถือ นักท่องเที่ยวสามารถจองห้องพัก เช่ารถ หรือซื้อตั๋วเครื่องบิน อย่างง่ายดายไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน ช่วยประหยัดเวลา และให้ความสะดวกสบายสูงสุด ในการเลือกจุดหมายปลายทาง Orbitz รู้ว่าลูกค้าของพวกเขาใช้สมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตเมื่อต้องการท่องเที่ยว เมื่อมองถึงความสำคัญนี้ Orbitz ได้เปิดตัวแอพพลิเคชั่นต่างๆ สำหรับ iPhone, Android และ Window

2. ปัญหาอะไรในการจัดการ องค์กร และเทคโนโลยี ที่ Orbitz จำเป็นต้องแก้ไขในกลยุทธ์บนมือถือ
          เนื่องจากเทคโนโลยีจะพัฒนาไปตามยุคสมัย Orbitz ต้องปรับปรุงและพัฒนาประสิทธิภาพการให้บริการอยู่เสมอจึงจะสามารถแข่งขันกับบริษัทอื่นๆ ได้ การจัดการต้องมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาเพื่อให้ Orbitz มีความทันสมัย ใช้งานสะดวก และรวดเร็วอยู่เสมอ

3. ทำไมผู้ใช้โทรศัพท์มือถือจึงมีแนวโน้มที่จะจองห้องพักโรงแรมหรือจองเที่ยวบินในวันเดียวกัน
          นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เมื่อมีการเดินทาง ก็ต้องมีการหาห้องพักไปพร้อมๆ กัน Orbitz จึงมีข้อเสนอพิเศษเมื่อจองห้องพักและตั๋วเครื่องบินในวันเดียวกันบนมือถือ เรียกว่า Mobile Steals ใช้ได้ทั้งในเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซและ Orbitz app สำหรับบริการ iPhone และ Android นักท่องเที่ยวจะประหยัดได้ถึง 50% ของราคาปกติ

4. บทบาท Orbitz สำหรับกลยุทธ์ทางธุรกิจ
           คริสบราวน์รองประธาน Orbitz กล่าวว่าความสามารถในการเป็นผู้เล่นหลักในตลาดอีคอมเมิร์ซที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว จะต้องเพิ่มความรวดเร็วในการทำธุรกรรม โดยแอพพลิเคชั่นจะทำหน้าที่ในการดึงดูดลูกค้าใหม่ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งลูกค้าที่พยายามจองหลายๆ อย่างในวันเดียวกัน
เริ่มแรก Orbitz เข้าสู่ตลาดด้วยเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซที่ออกแบบมาเฉพาะสำหรับผู้ใช้ทางธุรกิจ เนื่องจากนักเดินส่วนใหญ่พกพาสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตอยู่แล้ว นักธุรกิจมักต้องใช้เอกสารด้านค่าใช้จ่ายต่างๆ เพื่อยื่นให้บริษัท Orbitz มีเครื่องมือที่ช่วยให้นักเดินทางสามารถปฏิบัติตามแนวทางของบริษัทได้

5. ความสำเร็จของ Orbitz
          ความสำเร็จของ Orbitz คือการเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีมือถือ ในปี 2549 และกลายเป็นบริษัทท่องเที่ยวทางอินเทอร์เน็ตแห่งแรกที่เปิดให้บริการเว็บไซต์บนมือถือ ซึ่งผู้ใช้สามารถตรวจสอบสถานะการบินได้ถึง 27 สายการบิน ค้นหาโรงแรมในสหรัฐอเมริกาและเม็กซิโก Orbitz ได้รับการปรับปรุงมากมายสำหรับการให้บริการบนมือถือ แอพพลิเคชั่นช่วยให้นักท่องเที่ยวสามารถดูค่าเฉลี่ยของเวลาที่รอคอยสำหรับสายการบินได้ ค้นหาบริการ WiFi ที่พร้อมใช้งาน คำนวณความล่าช้าในการเช็คอิน เวลารอรถแท็กซี่ ดูสภาพอากาศ และสภาพการจราจร สามารถค้นหาโรงแรมในบริเวณใกล้เคียง และดำเนินการเปรียบเทียบราคา ความสะดวกสบายต่างๆ นี้เองที่ช่วยให้ Orbitz ประสบความสำเร็จในการดำเนินกิจการ

CASE 2 : AMCO Business Solutions กับธุรกิจยางล้อรถยนต์

1. วิเคราะห์และอธิบายประโยชน์ของระบบการบริหารทรัพยากรขององค์กร (Enterprise Resource Planning : ERP) 
          สำหรับธุรกิจยางล้อรถยนต์ ต่อกระบวนการทางธุรกิจของฝ่ายต่างๆ ในองค์กร แยกเป็นด้านการผลิต ด้านการตลาด ด้านการเงินและบัญชี และด้านทรัพยากรมนุษย์
ด้านการผลิต : ผลิตให้ตรงกับความต้องการได้อย่างแม่นยำ ทันเวลา และทำให้เกิดประสิทธิภาพในการผลิตสูงสุด ทำให้ระบบการผลิตเป็นไปตามที่วางแผนไว้
ด้านการเงินและบัญชี : ทำให้ผู้บริการทราบงบการเงิน ทำให้ผู้บริหารสามารถได้ข้อมูลทันทีและถูกต้องเมื่อต้องการ ทำให้การตัดสินใจอยู่บนพื้นฐานของความถูกต้อง
ด้านทรัพยากรมนุษย์ : ทำให้จัดหาบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ ในการทำงานเข้ามาทำงานร่วมกันทำให้การทำงานเกิดประสิทธิภาพสูง ช่วยวิเคราะห์และหาแนวทางมนการกระตุ้นให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงาน เช่น การประเมินประสิทธิภาพในการทำงานเพื่อใช้ในการขึ้นเงินเดือน โบนัสสวัสดิการ

2. วิเคราะห์และอธิบายปัจจัยความสำเร็จของการนำระบบการบริหารทรัพยากรขององค์กร (Enterprise Resource Planning : ERP) มาใช้ในธุรกิจยางล้อรถยนต์


  • การบูรณาการระบบต่างๆ ของ AMCO Business Solution การบูรณาการระบบงานต่างๆเข้าด้วยกันตั้งแต่การจัดซื้อ จัดจ้าง การผลิต การขาย บัญชีการเงิน ซึ่งแต่ละส่วนงานจะมีความเชื่อมโยงในด้าน การไหลของวัตถุดิบป้อนสู่ไลน์การผลิต และการไหลของข้อมูล AMCO Business Solution ทำหน้าที่ในการจัดการข้อมูล ซึ่งจะทำให้การบริหารจัดการงานในกิจกรรมต่างๆ ที่เชื่อมโยงกันให้ผลลัพธ์ออกมาดีที่สุด พร้อมกับความสามารถรับรู้สถานการณ์และปัญหาของงานต่างๆ ได้ทันที ทำให้สามารถตัดสินใจแก้ปัญหาองค์กรได้อย่างรวดเร็ว
  • สามารถลดปัญหาข้อมูลที่ซ้ำซ้อนกัน เพิ่มประสิทธิภาพ ลดข้อผิดพลาดของข้อมูล สามารถรวมระบบงานต่างๆเข้าเป็นระบบงานเดียวกันซึ่งมีฐานข้อมูลเดียว บันทึกและแสดงผลแบบ Real time สามารถลดปัญหาข้อมูลที่ซ้ำซ้อนกัน เพิ่มประสิทธิภาพ ลดข้อผิดพลาดของข้อมูล ช่วยให้สามารถทำการปิดบัญชีได้ทุกวันเป็นรายวัน คำนวณต้นทุนและกำไรขาดทุนของบริษัทเป็นรายวัน
  • สามารถทราบคำสั่งซื้อ(Purchase Order) และคำสั่งขาย(Sales Order) ทันทีทุกที่ทุกเวลา ว่าคำสั่งดังกล่าว คือประเภทใด จำนวนเท่าไร และรองรับการทำงานผ่าน Mobility ได้ทุกประเภท
  • ความสามารถในการวางแผนการผลิตที่ดี เริ่มต้นคำสั่งซื้อแปลงมาเป็นคำสั่งผลิต เพื่อผลิตให้ตรงกับความต้องการได้อย่างแม่นยำ ทันเวลา
  • ผู้บริหารสามารถตรวจสอบ ติดตามการทำงานได้ง่าย อาทิเช่น การวิเคราะห์งบการเงิน ผู้บริหารสามารถได้ข้อมูลทันทีและถูกต้องเมื่อต้องการ ทำให้การตัดสินใจอยู่บนพื้นฐานของความถูกต้อง


3. วิเคราะห์และอธิบายความสามารถของระบบการบริหารความสัมพันธ์ลูกค้า (Customer Relationship Management : CRM) สำหรับธุรกิจยางล้อรถยนต์ ควรมีคุณลักษณะอย่างไร


  • ช่วยเพิ่มความสามารถในการบริการลูกค้าได้ดีขึ้น เพิ่มช่องทางให้ลูกค้าได้แนะนำติชมบริการขององค์กร ช่วยให้ลูกค้าและค้าสามารถ Customize ความต้องการของตนได้ทันที
  • ช่วยพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรกับลูกค้าและคู่ค้าให้ดีขึ้น ทำให้องค์กรรู้ความสนใจ ความต้องการ และพฤติกรรมการซื้อของลูกค้าและคู่ค้า สามารถร่วมกันคิด สร้างสรรค์และพัฒนาออกมาเป็นสินค้าและบริการที่เหมาะสมกับลูกค้าได้
  • สร้างความจงรักภักดีของลูกค้าในระยะยาว การได้มาซึ่งลูกค้าในระยะยาวว่ายากแล้ว แต่การรักษาลูกค้าให้อยู่ไปนานๆ ยากยิ่งกว่า ซึ่งองค์กรจะต้องถือเป็นทรัพย์สินที่มีค่าและต้องดูแลรักษาเป็นอย่างดี เพราะจะช่วยให้องค์กรลดการสูญเสียลูกค้า ลดต้นทุนการตลาด
  • เพิ่มยอดขายในระยะยาว จากากรศึกษาพบว่าค่าใช้จ่ายในการหาลูกค้าใหม่นั้นมากกว่า 5 เท่า ดังนั้น การรักษาฐานลูกค้าเก่าจึงมีความสำคัญมาก เพราะลุกค้าเหล่านี้มีแนวโมสูงที่จะซื้อสินค้าและบริการซ้ำแล้วซ้ำอีกไปเรื่อยๆ ในอนาคต
  • เพิ่มโอกาสในการเติมโตของธุรกิจ การมีคู่ค้าที่ดี จะทำให้ความสัมพันธ์ทาวธุรกิจและการเจริญเติบโตของธุรกิจรุดหน้าไปอย่างรวดเร็ว เนื่องจากความชำนาญและการเข้าถึงลูกค้าแต่ละพื้นที่ของคู่ค้าแต่ละแห่งจะไม่เท่ากัน การเพิ่มโอกาสให้คู่ค้าสามารถนำเสนอสิ่งทีดีที่สุดให้กับลูกค้าในเวลาที่เหมาะสม และทันต่อเหตุการณ์จะช่วยเพิ่มช่องทางการขายได้โดยที่ไม่ต้องเพิ่มทุน


4. วิเคราะห์และอธิบายความสามารถของระบบการบริหารห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain Management : SCM) สำหรับธุรกิจยางล้อรถยนต์ ควรมีคุณลักษณะอย่างไร


  • AMCO ERP มีเครื่องมือที่ช่วยในการบริหารจัดการและวางแผนการผลิตแบบ Just in Time (JIT) ที่ครอบคลุมตั้งแต่ ขั้นตอนการวางแผน การจัดหาวัตถุดิบ การควบคุมการผลิต การจัดส่ง และการส่งคืนสินค้า ตลอดจนการคิดค่าใช้จ่ายและต้นทุน เพื่อเพิ่มความมั่นใจในการส่งมอบสินค้าและบริการให้ถึงมือลูกค้าให้ทันเวลาตามเวลาที่ระบุ
  • PBID Screen เปลี่ยนข้อมูลที่ซับซ้อนมาเป็นกราฟและตารางที่เข้าใจง่าย มองเห็นถึงภาพรวมของกิจกรรมการผลิตรวมถึงความสัมพันธ์ทั้งหมดในมิติที่หลากหลาย และนำไปประกอบการตัดสินใจได้ทันที เช่น ข้อมูลขาย แผนการผลิตและกำลังการผลิต วัตถุดิบคงเหลือและแผนการจัดซื้อ รวมถึงข้อมูลค่าใช้จ่ายและ overhead ต่างๆ
  • ตอบสนองการตัดสินใจได้อย่างทันท่วงที รับทราบสถานการณ์ดำเนินงานปัจจุบัน และคาดการณ์ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ทำให้มองเห็นสาเหตุและแก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุด เช่น ส่งมอบสินค้าล่าช้าเนื่องจากมีการผลิตที่ล่าช้าต่อเนื่องสะสม หรือการที่ผู้บริหารทราบได้ทันทีว่าสาเหตุดังกล่าวเกิดมาจากปัจจัยภายใน เช่น เครื่องจักรชำรุด หรือปัจจัยภายนอก เช่น วัตถุดิบที่ใช้มีคุณภาพต่ำหรือส่งมอบล่าช้า เป็นต้น
  • สนับสนุนการวางแผนหรือกำหนดนโยบาย ช่วยให้ผู้บริหารมองสถานการณ์ปัจจุบันในแต่ละส่วนและนำไปพยากรณ์แนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ได้แก่ กำลังการผลิต งบประมาณ หรือปริมาณวัตถุดิบคงเหลือ
  • บริหารและควบคุมงบประมาณและค่าใช้จ่าย รับทราบถึงค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมการผลิตทั้งทางตรงทางอ้อม เพื่อควบคุมการผลิตสินค้าแต่ละชนิดไม่เกินงบประมาณที่ตั้งไว้ และไม่ทำให้ต้นทุนในการผลิตสินค้าสูงเกินไป
  • วัดประสิทธิภาพในการผลิต วัดประสิทธิภาพในการผลิตโดยรวมของเครื่องจักร (Overall Equipment Effectiveness : OEE) ซึ่งเป็นมาตรฐานสากลในการวัดกิจกรรมการผลิต ที่ทำให้ผ็บริหารมองเห็นภาพรวมและนำไปกำหนดกลยุทธ์ในการบริหารงานที่เหมาะสมต่อไป


CASE : 3 AMERICA’S CUP : THE TENSION BETWEEN TECHNOLOGY AND HUMAN DECISION MAKERS

1. เทคโนโลยีสารสนเทศเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง ในการแข่งขันขัน America’s Cup
          ในปี 2013 มีการออกแบบเรือใบที่สวยงามและน่าตื่นเต้น แตกต่างจากเรือใบแบบดั้งเดิม ในศตวรรษที่ 21 อย่างสิ้นเชิง เรือมีขนาด 72 ฟุต ชื่อว่า AC72s สามารถแล่นได้มากกว่า 50 ไมล์ต่อชั่วโมง เร็วที่สุดในหมู่เรือที่เคยสร้าง AC72 ใช้ไฮโดรฟอยล์ขนาดเล็ก อยู่ใต้ลำเรือให้แรงยกมากกว่า 12,000 ปอนด์ เพื่อช่วยยกลำเรือให้สูงขึ้นจากใต้น้ำได้  เช่นเดียวกับปีกเครื่องบินทืมีไฮโดรฟอยล์ไว้ช่วยสร้างแรงยกให้กับเครื่องบินขณะที่กำลังบิน การควบคุมเรือในรูปแบบดั้งเดิม จะใช้ลูกเรือมองที่เรือและทะเลแล้วทำการปรับเปลี่ยนแก้ไขตามความเหมาะสม แต่ในปัจจุบันมีการพึ่งพาเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยมากขึ้น มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการการตัดสินใจ มีการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูล ด้วยเซนเซอร์ที่ติดตั้งไว้บนเรือ แล้วนำเสนอข้อมูลผ่านคอมพิวเตอร์มือถือขนาดเล็กไปยังลูกเรือแต่ละคน

2. เทคโนโลยีสารสนเทศมีผลต่อการตัดสินใจของ Team USA อย่างไร
          เทคโนโลยีสารสนเทศจำเป็นสำหรับ Team USA เพราะมันจะทำให้สามารถทำงานหลายๆ อย่าง นับพันครั้งได้ในหนึ่งชั่วโมง เทคโนโลยีสารสนเทศสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้ Team USA  ได้เรื่อยๆ ส่งผลให้มีการตัดสินใจที่แม่นยำ และรวดเร็ว สามารถวัดผลได้ทันนที ทำให้ Team USA ได้เปรียบเหนือคู่แข่ง ที่มีความเข้าใจในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศน้อยกว่า

3. เทคโนโลยีที่ทำให้ Team USA ชนะในรายการ America’s Cup
          Team USA ใช้เซ็นเซอร์ 250 ตัวบนปีกเรือและหางเสือของเรือ เพื่อรวบรวมข้อมูลแบบเรียลไทม์ เพื่อตรวจสอบผลของการปรับเปลี่ยนแต่ละครั้ง มีเซ็นเซอร์ตรวจสอบตัวแปรถึง 4,000 ตัว ใน 10 ครั้งต่อวินาที สามารถผลิตได้ 90 ล้านข้อมูลต่อชั่วโมง ซึ่งข้อมูลนั้นจะถูกส่งผ่านเครือข่ายไร้สายไปยังหน้าจอบนข้อมือลูกเรือ ข้อมูลจะถูกถ่ายโอนไปยังเรือที่กำลังวิ่งอยู่ และจัดเก็บข้อมูลไว้ในซอฟต์แวร์การจัดการฐานข้อมูล Oracle 11g สำหรับการวิเคราะห์แบบเรียลไทม์ โดยใช้สูตรการคาดการณ์ความเร็วเพื่อทำความเข้าใจว่าอะไรที่ทำให้เรือแล่นได้เร็วและส่งข้อมูลมายังศูนย์ออราเคิล ออสติน (Oracle Austin) สำหรับการวิเคราะห์ในเชิงลึกมากขึ้น สมาชิกใน Team USA แต่ละคนจะสวมคอมพิวเตอร์มือถือขนาดเล็กบนข้อมือ เพื่อแสดงข้อมูลที่สำคัญ ที่สมาชิกคนนั้นรับผิดชอบอยู่
กัปตันและนักยุทธวิธีมีข้อมูลที่แสดงบนแว่นตากันแดดของพวกเขา ด้วยวิธีนี้สมาชิกลูกเรือแต่ละคนจะได้รับข้อมูลที่ต้องการจากกัปตันและนักยุทธวิธี เพื่อทำหน้าที่ของตัวเองทันที

4. เปรียบเทียบบทบาทการใช้ Big Data ของ Team USA ใน America’s Cup กับการชนะฟุตบอลโลก ปี 2014 ของทีมชาติเยอรมัน
          Team USA Big Data มีบทบาทในการช่วยเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลของนักกีฬา ซึ่งข้อมูลที่เก็บมาวิเคราะห์นี้ก็มีตั้งแต่ สถิติเวลาที่ทำได้ในการฝึกซ้อม ข้อมูลการฝึกซ้อมในด้านต่างๆ เช่น การเทรนด้านพละกำลัง การเทรนด้านความอดทน และความเร็วในแล่นของเรือขณะทำการฝึกซ้อม เป็นต้น โดยข้อมูลที่เก็บได้นอกจากจะเป็นข้อมูลรายบุคคลของนักกีฬาและข้อมูลแบบทีมแล้ว ทางทีมงานยังได้เก็บข้อมูลสภาพแวดล้อมและปัจจัยที่จะส่งผลต่อการทำเวลาและประสิทธิภาพของนักกีฬาไว้อีกด้วย ซึ่งข้อมูลที่ว่าก็คือ สภาพดินฟ้าอากาศ แรงลม กระแสน้ำ ซึ่งล้วนเป็นปัจจัยที่มีผลต่อการแข่งขันทั้งสิ้น
ในการแข่งขันฟุตบอลโลก Big Data มีบทบาทต่อทีมชาติเยอรมันในการระบุจุดอ่อนและจุดแข็งของผู้เล่น ช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพของนักฟุตบอลที่เข้าร่วมการแข่งขัน ทีมชาติเยอรมันได้ร่วมมือกับเอสเอพี (SAP) เพื่อพัฒนาฐานข้อมูลขนาดใหญ่ ที่ประกอบด้วยข้อมูลเชิงลึกจากการแข่งขันในแมตช์ต่างๆ ซึ่งช่วยในการฝึกซ้อมนักฟุตบอลทีมชาติ และส่งผลให้ทีมชาติเยอรมนีครองถ้วยแชมป์ฟุตบอลโลกในปี 2014 แสดงให้เห็นว่าการใช้เทคโนโลยีในการรวบรวม จัดเก็บ และวิเคราะห์ข้อมูล มีส่วนช่วยให้ตัดสินใจได้ดียิ่งขึ้น