วันอังคารที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2561

บทที่ 1 บทนำ

 

MIS
          ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ

     🔃ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ หรือ เอ็มไอเอส (อังกฤษ: management information system - MIS) หมายถึง ระบบคอมพิวเตอร์ หรือขั้นตอนที่ช่วยในการจัดเก็บสารสนเทศเพื่อใช้ในการบริหารและการจัดการองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการนี้จะมีส่วนครอบคลุมถึง บุคคล เอกสาร เทคโนโลยี และขั้นตอนในการทำงาน เพื่อที่จะแก้ปัญหาทางธุรกิจไม่ว่าทาง ราคา สินค้า บริการ หรือกลยุทธต่างๆ ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการจะแตกต่างจากระบบสารสนเทศทั่วไป กล่าวคือระบบนี้จะใช้ในการวิเคราะห์ระบบอื่นๆเพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในทางวิชาการคำว่าระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการนี้ถูกใช้ในส่วนของรูปแบบการจัดการข้อมูล เช่น ระบบผู้เชี่ยวชาญ หรือ ระบบช่วยในการตัดสินใจ




ความสัมพันธ์ของระบบสารสนเทศ
The relationship of Information System


RIS
ความสัมพันธ์ของระบบสารสนเทศ 


1. Transaction Processing Systems: TPS Þ เป็นระบบประมวลผลรายการ

Ø ระบบประมวลผลรายการมักมีลักษณะดังนี้ 
    🔼ข้อมูลมักจะมีจำนวนมาก เนื่องจากต้องรับข้อมูลที่เกิดขึ้นทุกวัน
    🔼ต้องมีการประมวลผลข้อมูลเพื่อสรุปยอดต่างๆ เป็นประจำ
    🔼ต้องมีความสามารถในการเป็นหน่วยจัดเก็บข้อมูลที่ดี 
    🔼ต้องมีความง่ายในการใช้งาน 
    🔼ระบบ TPS ถูกออกแบบให้มีความเที่ยงตรงสูง

Ø หน้าที่ของระบบประมวลผลรายการมี 3 ประการ คือ
1. การทำบัญชี (book keeping) 
2. การออกเอกสาร (document issuance) 
3. การทำรายการควบคุม (control reporting)

2. Office Automation System: OAS Þ เป็นระบบสารสนเทศสำนักงาน
Ø แบ่งหน้าที่ได้เป็น 4 ประเภท ดังนี้                             
1. ระบบจัดการทางด้านเอกสาร (document management system) 
2. ระบบการส่งข่าวสาร (message-handing system) 
3. ระบบการประชุมทางไกล (teleconferencing system)
4. ระบบสนับสนุนในสำนักงาน (office support system)

3. Management Information system: MIS Þ เป็นระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
Ø มีหน้าที่จัดทำรายงานที่มีรูปแบบแตกต่างกัน สามารถจำแนกได้ 4 ประเภท ดังนี้
1. รายงานที่จัดทำตามระยะเวลาที่กำหนด (periodic reports) 
2. รายงานสรุป (summarized reports) 
3. รายงานที่จัดทำตามเงื่อนไขเฉพาะ (executive reports) 
4. รายงานที่จัดทำตามต้องการ (demand reports)

4. Decision Support System: DSS Þ ลักษณะที่สำคัญของ DSS คือ เป็นระบบที่ทำให้สามารถสืบค้นได้รวดเร็วประกอบการตัดสินใจ

5. Executive Support System: ESS Þ มีลักษณะสำคัญ 5 ประการ
1 สนับสนุนการวางแผนกลยุทธ์ (strategic planning support) 
2. เชื่อมโยงกับสิ่งแวดล้อมภายนอกองค์กร (external environment focus) 
3. ความสามารถในการคำนวณภาพกว้าง (broad-based computing capabilities) 
4. ง่ายต่อการเรียนรู้และใช้งาน (exceptional ease of leaning and use) 
5. พัฒนาเฉพาะสำหรับผู้บริการ (customization)



แอพพลิเคชั่นของธุรกิจเพื่อสังคม 
(APPLICATIONS OF SOCIAL BUSINESS)


Social business application


Description
Social networks


เครือข่ายสังคมออนไลน์ หรือเป็นการบริการที่เชื่อมโยงคนหลายคนเข้าไว้ด้วยกันผ่านอินเตอร์เน็ต Social Network สามารถแบ่งแยกออกได้ตามรูปแบบ และวัตถุประสงค์ในการใช้งาน ดังต่อไปนี้
1. Blog (บล็อก) เป็นเว็บไซต์รูปแบบหนึ่งที่มีการเชื่อมโยงผู้คน ทั้งผู้อ่านและผู้เขียนเข้าเป็นสังคมเดียวกัน
2. Micro blog (ไมโคร บล็อก) เป็นเว็บไซต์ขนาดเล็กที่สามารถส่งข้อความหากันได้ เช่น Twitter
3. Social Network Website (โซเชียล เน็ตเวิร์ค เว็บไซต์) เป็นเว็บไซต์สังคมออนไลน์ ได้แก่ Facebook hi5 เป็นต้น ซึ่งสามารถแชร์ข้อความ รูปภาพ วิดีโอ บทความ เพลง และลิ้งค์ นอกจากนี้ยังมีการแสดงความคิดเห็น การกดไลค์ การอภิปราย
4. Bookmark Social Site (โซเชียลบุ๊คมาร์ค) เป็นเว็บไซต์ที่สามารถให้เราเก็บหน้าเว็บไซต์ที่ชื่นชอบไว้ได้


Crowd Sourcing

คือการทำงานที่เกิดจากการรวมตัวของคนจำนวนมาก ซึ่งต่างคนก็มีความสามารถดีเด่นคนละด้าน เมื่อมารวมกันก็จะทำให้มีความสมบูรณ์จากหลายๆ ศาสตร์รวมกันในงานชิ้นเดียว นอกจากนี้ไม่จำเป็นต้องมานั่งทำงานด้วยกันเพียงอย่างเดียว เนื่องจากมีระบบออนไลน์ทำให้สามารถทำ Crowd Sourcing ได้จากทุกที่ผ่านระบบออนไลน์

Crowd Sourcing ถูกนำมาใช้ในด้านต่างๆดังต่อไปนี้
➽ การระดมทุนในรูปแบบนี้เรียกกันว่า “crowd funding” เกิดจากผู้ที่มีไอเดียอยากทำสินค้าขายหรือทำธุรกิจแต่ขาดเงินทุน จึงต้องมีการระดมทุนผ่านระบบ crowd funding โดยการนำไอเดียไปขึ้นสู่เว็บไซต์ประเภทนี้เช่น Kick starter โดยผู้ที่สนใจในไอเดียก็จะบริจาคเงินทุนเพื่อการนำไปพัฒนาต่อยอดจนสามารถขายหรือทำธุรกิจได้จริง
➽ การทำงานของบริษัทในห้าง เช่นการเสนอไอเดียจากพนักงานหลายๆ คน รวมถึงจากลูกค้า เพื่อนำมาช่วยในการวิเคราะห์และออกแบบสินค้าหรือบริการตัวใหม่ นอกจากนี้ยังมีบริษัทที่รับทำ Crowd Sourcing ช่วยหาคนหรือหน่วยงานมาร่วมการทำงานได้ ตัวอย่างเช่น มีโปรเจคหนึ่งของบริษัท แต่ไม่อยากใช้คนของตัวเองทั้งหมด ก็ไปให้บริษัท Crowd Sourcing ช่วยหาคนหรือหน่วยงานจากหลายๆ คน มาช่วยในการทำงานชิ้นนี้ได้ ทำให้มีการต่อยอดและพัฒนาได้ดีกว่าเดิมเพราะมีความหลากหลายทางมุมมองความคิด
การแข่งขันเพื่อหาคำตอบที่ดีที่สุด บางการวิจัยก็ได้นำแนวคิดนี้เข้ามาใช้เช่น NASA เปิดโอกาสให้คนทั้งโลกสร้างระบบและหลักการคำนวณ (algorithm) ที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการตรวจหาดาวหางจากภาพถ่ายดวงดาวที่นาซ่าจัดหาไว้ให้ ผ่านทางระบบออนไลน์
➽ ใช้ในการโหวตเลือกสินค้า เป็นการรวบรวมความเห็นจากผู้คนจำนวนมากเพื่อในการตัดสินใจผลิตและจำหน่ายสินค้า
➽ ใช้เพื่อรวบรวมข้อมูล เช่นการให้คนทุกคนสามารถส่งคำแปลภาษาท้องถิ่นเข้าสู่ระบบแปลภาษาได้

Shared work spaces

การที่มีพื้นที่ในการประสานงานโครงการและร่วมกันสร้างเนื้อหา

Blogs and Wikis
➽ "Blog" เป็นการหดตัวของ Web log ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่ผู้ใช้โพสต์รายการที่คล้ายกับวารสารที่แสดงในลำดับเหตุการณ์ย้อนหลังโดยมีการโพสต์ล่าสุดที่ด้านบนของหน้าบล็อกสามารถใช้รูปแบบของสมุดบันทึกออนไลน์พงศาวดารส่วนตัวบันทึกการเดินทางคอลัมน์ newsy และรายงานจากกิจกรรมพิเศษ พวกเขาสามารถรวมกราฟิกรูปภาพและแม้แต่เพลงและวิดีโอคลิป โพสต์บล็อกมักจะมีลิงค์ไปยังบล็อกหรือเว็บไซต์อื่น ๆ บล็อกสามารถดูได้อย่างเปิดเผยต่อสาธารณชนหรือซ่อนตัวอยู่หลังไฟล์วอลล์ของ บริษัท อย่างปลอดภัย บล็อกสาธารณะและภายในมักเน้นเฉพาะเรื่องหรือปัญหา เกือบทุกบล็อกให้ความคิดเห็นจากผู้อ่านและคนที่ดีที่สุดซึ่งเป็นที่นิยมมากที่สุดสำหรับผู้อ่านและทำให้มีการเข้าชมมากที่สุดในการสนทนา บล็อกที่ดีมีการอัปเดตบ่อยครั้ง
➽ "วิกิพีเดีย" คือเว็บไซต์ที่ประกอบด้วยเนื้อหาแบบข้อความซึ่งสามารถแก้ไขโดยผู้ใช้ตามที่กำหนดได้ ซึ่งแตกต่างจากบล็อกซึ่งบทความที่ผู้เขียนไม่มีการแก้ไขเอกสาร Wiki สามารถแก้ไขได้โดยทุกคนที่สามารถเข้าถึงเว็บไซต์ได้ เป็นรูปแบบการแชร์ที่แชร์กัน ผู้ใช้สามารถเพิ่มเนื้อหาใหม่และแก้ไขเนื้อหาที่มีอยู่ได้โดยไม่ต้องขออนุญาต โทเค็นทั่วไปอยู่บนเว็บเซิร์ฟเวอร์ซึ่งสามารถเปิดให้เข้าถึงโดยบุคคลสาธารณะผ่านทางอินเทอร์เน็ตหรือ จำกัด อยู่ในเครือข่ายท้องถิ่นของ บริษัท หนึ่งในตัวอย่างที่ใหญ่ที่สุดและเป็นที่รู้จักมากที่สุดของวิกิพีเดียคือวิกิพีเดียสารานุกรมออนไลน์ฟรี ในธุรกิจ wiki ถูกใช้เป็นเครื่องมือการทำงานร่วมกันแบบใหม่
Social commerce
คือ Social Media ในมุมมองที่เกี่ยวข้องกับ E-Commerce หรือการทำธุรกิจโดยมีส่วนที่เกี่ยวข้องกับ Social Activity บนโลกออนไลน์ Social Commerce เป็นธุรกรรมเชิงพาณิชย์ที่เกิดขึ้นอย่างแพร่หลาย ต่างกับเทคโนโลยีใหม่อื่นๆ ที่ต้องใช้เวลานาน กว่าจะมีผู้ใช้อย่างกว้างขวาง ทั้งนี้เป็นการผสาน E-Commerce และ Social Media รวมเป็นคุณสมบัติ 6C (Social Innovation conference – Bankinter Foundation.,2012) มีดังต่อไปนี้
1.เนื้อหา – Content
2.บริบท Context   Social Commerce 
3.การพาณิชย์ – Commerce รูปแบบพาณิชย์ ของ Social Media 
4.การเชื่อมต่อ–Connection Social Media
5.ชุมชน – Community
6.การสนทนา–Conversation

File sharing
คือ Folder ที่ทำการการ Share อยู่บน Server ให้บุคคลกรในองค์กร Access เข้าไปถึงทรัพยากรที่อยู่ในภายใน Folder ที่ทำการ Share อยู่บน Server และเนื่องจากองค์กรมีบุคคลกรที่มีตำแหน่งและหน้าที่ความรับผิดชอบที่แตกต่างกัน เราจึงต้องมีการกำหนด permissions ในการถึง File Share ที่แตกต่างกันซึ่งมีอยู่ทั้งหมด 3 รูปแบบได้แก่
- Full Control คือสามารถทำการ เขียน,อ่าน,และสุดท้ายคือการให้สิทธิ user ภายในองค์กรได้
- Change คือสามารถทำการ เขียน,อ่าน ได้ แต่ไม่สามารถทำการให้สิทธิ ผู้อื่นภายในองค์กรได้
- Read คือสามารถทำการ อ่านได้อย่างเดียวไม่สามารถทำการ เขียนหรือทำการแก้ไขได้ ให้สิทธิผู้อื่นก็ไม่ได้และส่วนสุดท้ายคือการเข้า file share ที่อยู่บน Server เราสามารถทำการ Access ได้ด้วย 2 วิธีด้วยกัน อันแรกคือ เราสามารถเขียน UNC path เพื่อ Access เข้าถึงตำแหน่งที่ข้อมูลทำการเก็บอยู่โดย \\Server01\  (Server01 คือ เครื่องที่เก็บ Folder ที่ทำการ Shareเอาไว้)

Social Marketing
คือ การนำกลยุทธ์การตลาดในทางธุรกิจหรือที่ใช้เพื่อการพาณิชย์ มาเป็นเครื่องมือในการรณรงค์เพื่อมุ่งแก้ไขปัญหาสังคม โดยกลุ่มเป้าหมายของการรณรงค์ไม่จำเป็นต้องซื้อหรือบริโภคสินค้าและบริการขององค์กร แต่ต้องการทำให้เกิดผลจากการรณรงค์ที่เป็นไปเพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในด้านสาธารณสุข ด้านความปลอดภัย ด้านสิ่งแวดล้อม หรือด้านสุขภาวะของสังคมกลุ่มเป้าหมาย เช่น การรณรงค์ลดละเลิกบุหรี่ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กิจกรรมรักษ์น้ำ รักษ์ธรรมชาติ การดูแลฟื้นฟูสุขภาพและการออกกำลังกาย ฯลฯ
ผู้มีส่วนได้เสียของการตลาดเพื่อสังคม จะไม่จำกัดอยู่เพียงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายขององค์กร แต่สามารถเป็นคนหลากหลายกลุ่มในสังคมที่องค์กรต้องการเข้ามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาหรือช่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของคนกลุ่มดังกล่าว

Communities
หัวข้อสนทนาในฟอรั่มเปิด แบ่งปันความเชี่ยวชาญ องค์ประกอบของชุมชน  คือ
1.มีอุดมการณ์ วิสัยทัศน์ร่วมกันและมีทิศทางเดียวกัน
2.มีเป้าหมายและวัตถุประสงค์ร่วมกัน
3.มีผลประโยชน์ร่วมกัน
4.ผู้นำมีความรู้ทักษะในด้านความคิด ศีลธรรม การประกอบการอาชีพ การพูด ประสานงาน บารมี
5.สมาชิก
6.การบริหารการจัดการ มีการตัดสินใจร่วมกัน การจัดโครงสร้าง บทบาทหน้าที่ กำหนดกฎหมาย กติการ่วมกัน สถานที่ ทรัพยากร การสื่อสาร การประสานงาน การควบคุม การสอบและประเมินผล

วันอังคารที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2561

บทที่ 2 องค์กร การจัดการ การตัดสินใจ



organization
องค์กร

    

“องค์กร” ORGANIZATION
เป็นศัพท์บัญญัติที่ตรงกับภาษาอังกฤษว่า “Organ” หมายถึง ส่วนประกอบย่อยของหน่วยใหญ่ ทำหน้าที่สัมพันธ์กันหรือขึ้นต่อกันและกัน (ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕)

“องค์การ” ตรงกับภาษาอังกฤษว่า “Organization” หมายถึง ศูนย์กลางของกิจการที่รวมประกอบกันขึ้นเป็นหน่วย หรือจะพูดง่ายๆ ก็คือ หลายๆ “องค์กร” รวมกันเข้ามา จะกลายเป็น “องค์การ” ทันทีเพราะฉะนั้น การที่หลายคนมารวมตัวกันเป็นกลุ่มแล้วทำภารกิจอะไรสักอย่างร่วมกัน ยังไม่ถือว่าเป็นองค์กร เพราะ “องค์กร” จะต้องเป็นส่วนย่อยของ “องค์การ” และมีหน้าที่เฉพาะของตน

“องค์การ” มีหน้าที่เอา “องค์กร” ต่างๆ ที่มีหน้าที่แตกต่างกันนั้นมารวมเข้าด้วยกัน และสร้างความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรต่างๆ ให้สามารถดำเนินงานตามหน้าที่ร่วมกันได้อย่างเป็นระเบียบ คล้ายๆ กับเครื่องจักรนาฬิกาแต่ละชิ้นที่มีหน้าที่ต่างๆ เหมือนกับ “องค์กร” และเมื่อนำเอาเครื่องจักรแต่ละชิ้นมาประกอบกัน มันก็จะทำให้นาฬิกานั้นเดินไปได้อย่างมีระเบียบเป็น “องค์การ” และหน่วยงานที่จะถือว่าเป็น “องค์การ” ได้ จะต้องมีการจัดระเบียบงานถูกต้องตามกระบวนการดังกล่าวมาแล้วเท่านั้น ซึ่งทุกวันนี้มีการนำคำว่า “องค์กร” ไปใช้ในความหมายของ “องค์การ” อย่างแพร่หลาย ตัวอย่างเช่น บริษัท โรงงาน สำนักงาน ส่วนราชการ มูลนิธิ วัด ฯลฯ แต่ความจริงตามแนวความคิดทางวิชาการ โดยเฉพาะทางสังคมวิทยา องค์การจะมีความหมายที่กว้างกว่านั้น แต่ในด้านสังคมวิทยาถือว่า องค์การมีอยู่ 2 ระดับคือ

1.ระดับต้นหรือองค์การปฐมภูมิ (primary organization)
2.ระดับสองหรือองค์การทุติยภูมิ (secondary organization)

องค์การระดับต้นเกิดขึ้นในสังคมโดยอัตโนมัติ เช่นครอบครัว ประชาคม กล่มมิตรสหาย เครือญาติ ฯลฯ ซึ่งมีแบบแผนความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกแบบส่วนตัว หรือไม่เป็นทางการ (informal หรือ personal) ใครที่ไม่คุ้นกับแนวความคิดสังคมวิทยา ก็จะไม่เรียกสถาบันเหล่านี้ว่าเป็น “องค์การ” เพราะเข้าใจหรือรู้จักองค์การในความหมายขององค์การระดับสองเท่านั้น หากมองจากมุมของประวัติศาสตร์ สถาบันสังคมโบราณอาจจะมีแต่สังคมชั้นต้นเป็นส่วนใหญ่ ตามข้อเท็จจริงแล้ว หากไม่นับวิวัฒนาการขององค์การในกองทัพ องค์การระดับสองโดยเฉพาะองค์การธุรกิจ หรืออุตสาหกรรมที่แยกตัวออกไปจากธุรกิจครอบครัวเกิดขึ้นอย่างเป็นล่ำเป็นสัน หลังจากสังคมนั้นๆ มีการปฏิวัติหรือพัฒนาอุตสาหกรรม ซึ่งเริ่มขึ้นในสังคมสมัยใหม่ หรือในศตวรรษที่ 18 นี้เอง และต้องตามให้ทันด้วยว่า องค์การสมัยใหม่มีองค์ประกอบมากกว่ากลุ่มคนที่มีเป้าหมายการทำงานร่วมกัน เพราะยังมีองค์ประกอบอื่น เช่น เครื่องไม้เครื่องมือ เครื่องจักร เทคโนโลยี ฯลฯ จะเห็นได้ว่า หากเราจะพูดหรือเขียนภาษาไทยถึงคำว่า “organization” เราต้องพูดและเขียน “องค์การ” ไม่ใช่ “องค์กร” ถ้าอุปมาอุปมัยเป็นตัวบุคคล องค์การเปรียบเสมือนผู้บรรลุนิติภาวะแล้ว ส่วนองค์กรยังเป็นเสมือนผู้เยาว์ หรือผู้ที่ต้องอยู่ในอุปการะ (dependent) หรือถ้าพูดถึงสถานภาพตามกฎหมาย องค์การน่าจะมีฐานะเป็นนิติบุคคล ส่วนองค์กรซึ่งเป็นส่วนหนึ่งขององค์การนั้น ยังต้องขึ้นอยู่กับองค์การในรูปใดรูปหนึ่ง


คุณลักษณะขององค์กร
  • การปฏิบัติและกระบวนการทางธุรกิจ 

การปฏิบัติ - บางครั้งเรียกว่าการดำเนินงานมาตรฐาน

กระบวนการ - มีกฎแม่นยำ ขั้นตอนและวิธีปฏิบัติที่ได้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อรับมือกับความจริงทั้งหมดคาดสถานการณ์ เป็นคนเรียนรู้กระบวนกาารเหล่านี้ พวกเขากลายเป็นผู้ที่มีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ และ บริษัทสามารถลดต้นทุนของช่วงเวลาที่ประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น 
วัฒนธรรมองค์กร

  • วัฒนธรรมองค์กร - เป็นแรงรวมที่มีประสิทธิภาพที่ยับยั้งความขัดแย้งทางการเมืองและส่งเสริมทั่วไปเข้าใจข้อตกลงเกี่ยวกับขั้นตอนและร่วมกันปฏิบัติที่ ถ้าเราทุกคนร่วมกันสมมติฐานทางวัฒนธรรมพื้นฐานข้อตกลงเกี่ยวกับเรื่องอื่น ๆ ที่มีโอกาสมากขึ้น

ในเวลาเดียวกัน - วัฒนธรรมองค์กรคือ การยับยั้งชั่งใจมีประสิทธิภาพ การเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีโดยเฉพาะอย่างยิ่ง มากที่สุด องค์กรจะทำสิ่งต่าง ๆ เพื่อหลีกเลี่ยงการเปลี่ยนแปลง ในสมมติฐานพื้นฐาน การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีใด ๆ ที่คุกคาม

ยึดถือสมมติฐานทางวัฒนธรรมตามปกติ จัดการความต้านทาน แต่มีบางครั้ง มีเพียงวิธีเดียวที่เหมาะสมสำหรับบริษัทที่จะก้าวไปข้างหน้าคือการจ้างใหม่ นอกจากนี้เทคโนโลยีที่คัดค้านมาตรการที่มีอยู่ขององค์กรวัฒนธรรม เมื่อปัญหานี้เกิดขึ้น เทคโนโลยีมักจะเครื่องในขณะที่
วัฒนธรรมปรับช้าลง

  • สภาพแวดล้อมองค์กร 
สภาพแวดล้อมรูปแบบสิ่งที่องค์กรสามารถทำได้ แต่องค์กรสามารถมีอิทธิพลต่อสภาพแวดล้อมของพวกเขาและตัดสินใจที่จะเปลี่ยนสภาพแวดล้อมโดยสิ้นเชิง เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทสำคัญในการช่วยให้องค์กรรับรู้การเปลี่ยนแปลงด้านสิ่งแวดล้อมและในการช่วยให้องค์กรที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับสภาพแวดล้อมของพวกเขา
  • คุณสมบัติอื่นๆขององค์กร 

องค์กรมีเป้าหมายและใช้วิธีการที่แตกต่างกันเพื่อให้บรรลุองค์กร องค์กรยังทำหน้าที่กลุ่มที่แตกต่างกันหรือมี การเลือกตั้งแตกต่างกันบางส่วนใหญ่ของพวกเขาได้รับประโยชน์ สมาชิกคนอื่น ๆได้รับประโยชน์ลูกค้าผู้ถือหุ้นหรือประชาชน ลักษณะของความเป็นผู้นำที่แตกต่างอย่างมากจาก

องค์กรไปยังอีกบางองค์กรอาจจะมากขึ้นในระบอบประชาธิปไตยหรือเผด็จการกว่าคนอื่น ๆ อีกวิธีหนึ่งในองค์กรที่แตกต่างกันโดยงานที่พวกเขาดำเนินการและเทคโนโลยีที่องค์กรใช้




ระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์
    ระบบสารสนเทศกับการเปลี่ยนแปลงในองค์การ เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือสำหรับการรื้อปรับระบบและการเปลี่ยนแปลงองค์การใน 4 ระดับ คือ การปรับเปลี่ยนระบบงานเดิมให้เป็นระบบงานอัตโนมัติ การเปลี่ยนแปลงระดับกระบวนการปฏิบัติงาน การออกแบบระบบงานใหม่ และการเปลี่ยนแนวความคิด

ระบบสารสนเทศกับการเปลี่ยนแปลงองค์การ


          เทคโนโลยีสารสนเทศนอกจากจะถูกนำมาช่วยในการดำเนินงานขององค์การให้บรรลุตามวัตถุประสงค์แล้ว  ยังเป็นเครื่องมือสำหรับการรื้อปรับระบบและการเปลี่ยนแปลงองค์การใน  4  ระดับ  คือ



1.  การปรับเปลี่ยนระบบงานเดิมให้เป็นระบบงานอัตโนมัติ (Automation)
2.  การเปลี่ยนแปลงระดับกระบวนการปฏิบัติงาน (Rationalization of Procedures) 
3.  การออแบบระบบงานใหม่ (Business Process Re-engineering : BPR)



4.  การเปลี่ยนกระบวนทัศน์ (Paradigm Shifts)



ระดับของกลยุทธ์
          กลยุทธ์ (Strategy)  คือ   แผนรวมขององค์การที่นำเอาข้อได้เปรียบและจุดเด่นในด้านต่างๆมาใช้ประโยชน์  และปรับลดจุดด้อยเพื่อแสวงหาโอกาสและหลีกเลี่ยงอุปสรรค  ซึ่งจะทำให้องค์กรสามรถอยู่รอดและเจริญเติบโตได้ในระยะยาว  รวมทั้งสามารถเอาชนะคู่แข่งได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยทั่วไปมีกลยุทธ์ 3 ระดับ  ดังนี้



1. กลยุทธ์ระดับบริษัทหรือองค์การ (Corporate Strategy)   กำหนดโดยผู้บริหารระดับสูง ให้ความสำคัญกับการดำเนินงานในระยะยาว  มุ่งพิจารณาถึงธุรกิจที่องค์การควรดำเนินการ
2. กลยุทธ์ระดับธุรกิจ (Business Strategy) กำหนดโดยผู้บริหารหน่วยธุรกิจ ให้ความ สำคัญกับการแข่งขันของหน่วยธุรกิจ



3. กลยุทธ์ระดับหน้าที่ (Functional Strategy) กำหนดโดยหัวหน้าหน่วยงานตามหน้าที่ทางธุรกิจ เช่น  การเงิน การตลาด การดำเนินการ และทรัพยากรบุคคล   เพื่อสนับสนุนและสอดคล้อง กับกลยุทธ์ระดับที่สูงกว่า

การใช้ระบบสารสนเทศเพื่อให้ได้เปรียบทางการแข่งขัน



    บริษัท ที่มีข้อได้เปรียบในการแข่งขันเหนือคู่แข่งรายอื่นมักมีการเข้าถึงแหล่งข้อมูลพิเศษที่คนอื่นไม่สามารถใช้งานได้หรือสามารถใช้ทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพส่งผลให้มีรายได้ที่เพิ่มขึ้นความสามารถในการทำกำไรหรือการเติบโตของประสิทธิภาพการผลิตซึ่งทั้งหมดนี้เป็นผลสำเร็จในระยะยาว เป็นมูลค่าตลาดที่สูงกว่าคู่แข่งของพวกเขา



แบบจำลองการแข่งขัน ของไมเคิลพอร์เตอร์อธิบายถึงพลังการแข่งขัน 5 รูปที่กำหนดชะตากรรมของ บริษัท



คู่แข่งแบบเดิม: บริษัท ที่มีอยู่เดิมที่มีส่วนแบ่งตลาดของ บริษัท



ผู้เข้าตลาดใหม่: บริษัท ใหม่ ๆ มีข้อดีบางอย่างเช่นไม่ได้ถูกล็อคไว้ในอุปกรณ์เก่าและแรงจูงใจสูงรวมถึงข้อเสียเช่นความเชี่ยวชาญน้อยลงและการรับรู้แบรนด์น้อย อุตสาหกรรมบางแห่งมีอุปสรรคที่ต่ำกว่าในการเข้าร่วม ได้แก่ ค่าใช้จ่ายน้อยกว่าสำหรับ บริษัท ใหม่ในการป้อนข้อมูล



ผลิตภัณฑ์และบริการทดแทน: นี่เป็นสินค้าทดแทนที่ลูกค้าของคุณอาจใช้หากราคาของคุณสูงเกินไป ตัวอย่างเช่นบริการโทรศัพท์ทางอินเทอร์เน็ตสามารถใช้แทนบริการโทรศัพท์แบบเดิมได้ ผลิตภัณฑ์และบริการที่ทดแทนในอุตสาหกรรมของคุณยิ่งน้อยเท่าใดคุณก็สามารถควบคุมการกำหนดราคาและเพิ่มอัตรากำไรของคุณได้ 



ลูกค้า: พลังของลูกค้าเติบโตขึ้นหากพวกเขาสามารถเปลี่ยนไปใช้ผลิตภัณฑ์และบริการของคู่แข่งได้อย่างง่ายดายหรือถ้าพวกเขาสามารถบังคับให้ธุรกิจและคู่แข่งแข่งขันในราคาเดียวในตลาดที่โปร่งใสซึ่งมี ความแตกต่างของผลิตภัณฑ์ เล็กน้อยและราคาทั้งหมดเป็นที่รู้จักกันในทันที (เช่นบนอินเทอร์เน็ต) 



ซัพพลายเออร์: ซัพพลายเออร์ที่แตกต่างกันมากขึ้น บริษัท มีการควบคุมมากขึ้นก็สามารถออกกำลังกายมากกว่าซัพพลายเออร์ในแง่ของราคาคุณภาพและตารางการจัดส่งสินค้า 


การจัดการ
    การจัดการ หรือ Management หมายถึง กระบวนการทำงานหรือกิจกรรมที่กลุ่มบุคคลในองค์กร ร่วมกันทำงานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามแนวทางที่กำหนดไว้ 5 ขั้นตอนประกอบด้วย การวางแผน การจัดองค์การ การบังคับบัญชาสั่งการ การประสานงาน และการควบคุม


หน้าที่ในการจัดการ
  1. การวางแผน การวางแผนหรือ Planning หมายถึงการพิจารณากำหนดแนวทางการทำงานให้ บรรลุเป้าหมาย โดยเกิดจากการใช้ดุลพินิจคาดการณ์ล่วงหน้าเพื่อเป็นแนวทางการการทำงานในอนาคต 
  2. การจัดองค์การ การจัดองค์การหรือ Organizing หมายถึง การจัดระเบียบหรือโครงสร้างของการ ทำงานภายในองค์กรให้เป็นระบบระเบียบและอยู่ในส่วนประกอบที่เหมาะสม เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์และช่วยให้องค์กรประสบความสำเร็จได้เร็วขึ้น 
  3. การบังคับบัญชาสั่งการ หรือ Commanding หมายถึง ภาระหน้าที่ของผู้บริหารในการใช้ความสามารถชักจูงหรือหว่านล้อมผู้ใต้บังคับบัญชาให้ปฏิบัติงานตามคำสั่ง จนสามารถทำให้องค์กรบรรลุผลสำเร็จได้ 
  4. การประสานงาน หรือ Coordinating หมายถึง การจัดให้ทรัพยากรบุคคลภายในองค์กรทำงานประสานสัมพันธ์สอดคล้องเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน เพื่อให้การดำเนินงานราบรื่นและบรรลุวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ 
  5. การควบคุม หรือ Controlling หมายถึง กระบวนการทำงานเริ่มตั้งแต่การกำหนดมาตรฐาน การแก้ไขการปฏิบัติงานของผู้ใต้บังคับบัญชาตลอดจนการดำเนินงานตามแผน และการประเมินแผนเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
ระดับของผู้บริหาร

ระด้บของผู้บริหาร

1. ผู้บริหารระดับสูง (Top Manager) คือ ผู้บริหารที่อยู่ในระดับสูงสุดของสายบังคับบัญชา ทำหน้าที่นำองค์การไปสู่ความสำเร็จ เป็นผู้ที่ต้องรับผิดชอบองค์การทั้งหมดและเป็นผู้กำหนดวัตถุประสงค์และนโยบายสำคัญๆ ให้กับองค์การ ขอบเขตการบริหารจัดการจึงเกี่ยวข้องกับปัจจัยต่างๆ ในสภาพแวดล้อมภายนอกและปัจจัยต่างๆ ภายในองค์การ
  

2. ผู้บริหารระดับกลาง (Middle Manager) คือ ผู้บริหารที่อยู่ระดับรองลงมาจากผู้บริหารระดับสูง เป็นผู้รับเอาเป้าหมาย นโยบายและแผนงานจากผู้บริหารระดับสูงให้นำไปปฏิบัติ ทำหน้าที่ประสานงานโดยพยายามรวบรวมผลสำเร็จของการทำงานภายในหน่วยงานที่ตนรับผิด ชอบอยู่ ส่งมอบให้กับผู้บริหารระดับที่อยู่สูงถัดขึ้นไป ขณะเดียวกันก็จะคอยร่วมมือช่วยเหลือในการเผชิญและแก้ไขปัญหาที่มากระทบจากภายนอกด้วย ผู้บริหารระดับกลางยังมีหน้าที่รับผิดชอบต่อการทำงานของผู้บริหารที่อยู่ระดับล่างลงมา

3. ผู้บริหารระดับต้น (First-line Manager or First-line Supervisor) คือ ผู้บริหารระดับล่างสุด รับผิดชอบการปฏิบัติงานของพนักงานปฏิบัติการ เป็นผู้ใกล้ชิดและสั่งการโดยตรงกับ พนักงานปฏิบัติการและมีโอกาสรู้ความเป็นไปของปัญหาที่เกิดขึ้นในจุดปฏิบัติงาน ในบางองค์กรอาจจะมีกำหนดตำแหน่งงานของผู้บริหารระดับต้น เป็น Line Manager หัวหน้างาน Supervisor หัวหน้างาน Foreman ผู้นำกลุ่ม (Crew Leader) เป็นต้น

การตัดสินใจ Decision Making

การตัดสินใจ หมายถึง กระบวนการเลือกทางเลือกใดทางเลือกหนึ่ง จากหลาย ๆ ทางเลือกที่ได้พิจารณา หรือประเมินอย่างดีแล้วว่า เป็นทางให้บรรลุวัตถุประสงค์ และเป้าหมายขององค์การ การตัดสินใจเป็นสิ่งสำคัญ และเกี่ยวข้องกับ หน้าที่การบริหาร หรือการจัดการเกือบทุกขั้นตอน ไม่ว่าจะเป็นการวางแผน การจัดองค์การ การจัดคนเข้าทำงาน การประสานงาน และการควบคุม



นักวิชาการได้ให้ความหมายของการตัดสินใจดังนี้

Barnard  การตัดสินใจ คือ   เทคนิคในการที่จะพิจารณาทางเลือกต่างๆ ให้เหลือทางเลือกเดียว
Simon  การตัดสินใจ คือ กระบวนการหาโอกาสที่จะตัดสินใจ หาทางเลือกที่พอจะเป็นไปได้ และทางเลือกจากงานต่างๆที่มีอยู่

Moody การตัดสินใจ เป็นการกระทำที่ต้องทำเมื่อไม่มีเวลาที่จะหาข้อเท็จจริงอีกต่อไป ซึ่งการหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการใช้เวลาและค่าใช้จ่าย

Gibson and Ivancevich  การตัดสินใจหมายถึง กระบวนการสำคัญขององค์กรณ์ ที่ผู้บริหารจะต้องกระทำอยู่บนพื้นฐานของข้อมูลข่าวสาร (Information) ซึ่งได้รับมาจากโครงสร้างองค์การ พฤติกรรมบุคคล และในกลุ่มองค์การ

uJones  การตัดสินใจขององค์การ หมายถึง กระบวนการที่จะแก้ปัญหาขององค์กร โดยการค้นหาทางเลือก หรือแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดที่จะบรรลุเป้าประสงค์ที่วางไว้


บุษกร  คำคง    การตัดสินใจ  หมายถึง การใช้ข้อมูลพื้นฐานจากเรื่องที่กำลังพิจารณา โดยการใช้ความรู้พื้นฐานและข้อสรุปที่เป็นที่ยอมรับ นำมาผสมผสานกับการสรุปอ้างอิง เพื่อนำไปสู่เป้าหมาย แสดงทิศทางนำไปสู่การตัดสินใจ








บทบาทของการจัดการและการสนับสนุนสารสนเทศ
Managerial Roles and Supporting Information Systems







วันจันทร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2561

บทที่ 3 โครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศ


โครงสร้างพื้นฐาน

    โครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีประกอบด้วยชุดของอุปกรณ์ทางกายภาพและการประยุกต์ใช้ซอฟต์แวร์ที่จำเป็นในการทำงานทั้งองค์กร แต่โครงสร้างพื้นฐานด้านไอทียังเป็นชุดของการบริการที่หลากหลายของ บริษัท งบประมาณโดยผู้บริหารและประกอบไปด้วยความสามารถมนุษย์และทางเทคนิคเหล่านี้ รวมถึงการบริการ
    - แพลตฟอร์มระบบคอมพิวเตอร์: ใช้เพื่อให้การใช้งานบริการที่เชื่อมต่อพนักงาน ลูกค้า และซัพพลายเออร์ในสภาพแวดล้อมดิจิตอลเชื่อมโยงกัน รวมทั้งเมนเฟรมใหญ่, คอมพิวเตอร์เดสก์ทอป ระดับกลาง, คอมพิวเตอร์แล็ปท็อป, โทรศัพท์มือถือ และบริการคอมพิวเตอร์คลาวด์ระยะไกล
    - โปรแกรมประยุกต์ซอฟต์แวร์ บริการซอฟต์แวร์ออนไลน์ ที่ให้การบริการความสามารถทั่วทั้งในองค์กรเช่น การวางแผนทรัพยากรองค์กร , การจัดการ ลูกค้าสัมพันธ์, การจัดการห่วงโซ่อุปทานและความรู้ระบบการจัดการที่ใช้ร่วมกันโดยหน่วยธุรกิจ
    - บริการสื่อสารโทรคมนาคมที่ให้ข้อมูลเสียงและการเชื่อมต่อวิดีโอให้กับพนักงานลูกค้าและซัพพลายเออร์
    - การบริการการจัดการข้อมูลที่จัดเก็บและจัดการข้อมูลขององค์กรและให้ความสามารถในการวิเคราะห์ฃข้อมูล

วิวัฒนาการของโครงสร้างพื้นฐานด้านไอที

    - 5 ยุคที่เป็นเมนเฟรมวัตถุประสงค์ทั่วไปและคอมพิวเตอร์มินิคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล เครือข่ายลูกค้า /เซิร์ฟเวอร์คอมพิวเตอร์ขององค์กรและระบบคลาวด์และคอมพิวเตอร์มือถื
    - General‐Purpose เมนเฟรมและยุค Minicomputer: (1959-ปัจจุบัน)
    - ยุคคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล: (1981-ปัจจุบัน)
    - ยุคเซิร์ฟเวอร์และยุคไคลเอ็นต์(1983-ปัจจุบัน)
    - ยุคคอมพิวเตอร์องค์กร (1992-ปัจจุบัน)
    - ยุคคลาวด์และคอมพิวเตอร์มือถือ (2000-ปัจจุบัน)

ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์

1. หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit - CPU)
หน่วยประมวลผลกลางหรือซีพียู เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า โปรเซสเซอร์ (Processor) หรือ ชิป (chip) นับเป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญมากที่สุดของฮาร์ดแวร์ เพราะมีหน้าที่ในการประมวลผลข้อมูลที่ผู้ใช้ป้อน เข้ามาทางอุปกรณ์นำเข้าข้อมูลตามชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ผู้ใช้ต้องการใช้งาน หน่วยประมวลผลกลาง ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วน คือ
      1.1 หน่วยคำนวณและตรรกะ (Arithmetic & Logical Unit : ALU)
หน่วยคำนวณตรรกะ ทำหน้าที่เหมือนกับเครื่องคำนวณอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยทำงานเกี่ยวกับการคำนวณทางคณิตศาสตร์ เช่น บวก ลบ คูณ หาร อีกทั้งยังมีความสามารถอีกอย่างหนึ่งที่เครื่องคำนวณธรรมดาไม่มี คือ ความสามารถในเชิงตรรกะศาสตร์ หมายถึง ความสามารถในการเปรียบเทียบตามเงื่อนไข และกฎเกณฑ์ทางคณิตศาสตร์ เพื่อให้ได้คำตอบออกมาว่าเงื่อนไข นั้นเป็น จริง หรือ เท็จ ได้
     1.2 หน่วยควบคุม (Control Unit)
หน่วยควบคุม ทำหน้าที่ควบคุมลำดับขั้นตอนการประมวลผล รวมไปถึงการประสานงานกับอุปกรณ์นำเข้าข้อมูล อุปกรณ์แสดงผล และหน่วยความจำสำรองด้วย ซีพียูที่มีจำหน่ายในท้องตลาด ได้แก่Pentium III , Pentium 4 , Pentium M (Centrino) , Celeron , Dulon , Athlon
2. หน่วยความจำหลัก (Main Memory Unit)
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการจดจำข้อมูล และโปรแกรมต่างๆ ที่อยู่ระหว่างการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ บางครั้งอาจเรียกว่า หน่วยเก็บข้อมูลหลัก (Primary storage) สามารถแบ่งออกได้เป็น 2ประเภท คือ
      2.1 หน่วยความจำหลักแบบอ่านได้อย่างเดียว (Read Only Memory – ROM)
เป็นหน่วยความจำแบบสารกึ่งตัวนำชั่วคราวชนิดอ่านได้อย่างเดียว ใช้เป็นสื่อบันทึกในคอมพิวเตอร์ เพราะไม่สามารถบันทึกซ้ำได้ (อย่างง่ายๆ) เป็นความจำที่ซอฟต์แวร์หรือข้อมูลอยู่แล้ว และพร้อมที่จะนำมาต่อกับไมโครโพรเซสเซอร์ได้โดยตรง หน่วยความจำประเภทนี้แม้ไม่มีไฟเลี้ยงต่ออยู่ ข้อมูลก็จะไม่หายไปจากน่วยความจำ (nonvolatile) โดยทั่วไปจะใช้เก็บข้อมูลที่ไม่ต้องมีการแก้ไขอีกแล้วเช่น เก็บโปรแกรมไบออส (Basic Input output System : BIOS) หรือเฟิร์มแวร์ ที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ใช้เก็บโปรแกรมการทำงานสำหรับเครื่องคิดเลขใช้เก็บโปรแกรมของคอมพิวเตอร์ที่ทำงานเฉพาะด้าน เช่น ในรถยนต์ที่ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ควบคุมวงจร ควบคุมในเครื่องซักผ้า เป็นต้น
      2.2 หน่วยความจำหลักแบบแก้ไขได้ (Random Access Memory – RAM)
เป็นหน่วยความจำหลัก ที่ใช้ในระบบคอมพิวเตอร์ยุคปัจจุบัน หน่วยความจำชนิดนี้ อนุญาตให้เขียนและอ่านข้อมูลได้ในตำแหน่งต่างๆ อย่างอิสระ และรวดเร็วพอสมควร ซึ่งต่างจากสื่อเก็บข้อมูลชนิดอื่นๆ อย่างเทป หรือดิสก์ ที่มีข้อจำกัดในการอ่านและเขียนข้อมูล ที่ต้องทำตามลำดับก่อนหลังตามที่จัดเก็บไว้ในสื่อ หรือมีข้อกำจัดแบบรอม ที่อนุญาตให้อ่านเพียงอย่างเดียวข้อมูลในแรม อาจเป็นโปรแกรมที่กำลังทำงาน หรือข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผล ของโปรแกรมที่กำลังทำงานอยู่ ข้อมูลในแรมจะหายไปทันที เมื่อระบบคอมพิวเตอร์ถูกปิดลง เนื่องจากหน่วยความจำชนิดนี้ จะเก็บข้อมูลได้เฉพาะเวลาที่มีกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยงเท่านั้น
3. หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (Secondary Storage Unit)
เป็นหน่วยที่ใช้สำหรับเก็บบันทึก (Save) คำสั่งและข้อมูลเอาไว้อย่างถาวรเพื่อใช้งานในอนาคต หรือเพื่อนำส่งและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับผู้อื่น โดยที่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงสิ่งที่เก็บได้ตลอดเวลาสามารถแบ่งออกได้เป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ 4 ประเภท ดังนี้
      3.1 แบบจานแม่เหล็ก เป็นอุปกรณ์สำรองข้อมูลที่เป็นลักษณะของจานแม่เหล็กสำหรับบันทึกข้อมูลไว้ภายใน Disk ได้รับความนิยมและใช้งานมานานพอสมควรซึ่งเป็น ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ ที่ใช้หลักๆ เลยในปัจจุบัน ยกตัวอย่างเช่น ฮาร์ดดิสก์
      3.2 แบบแสง เป็นสื่อเก็บข้อมูลสำรองที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน โดยใช้หลักการทำงานของแสง การจัดการข้อมูลจะคล้ายกับแผ่นจานแม่เหล็ก ต่างกันที่การแบ่งจะเป็นรูปก้นหอย และเริ่มเก็บบันทึกข้อมูลจากส่วนด้านในออกมาด้านนอก ที่เป็นที่นิยมและรู้จักกันดี เช่น CD , DVD
      3.3 แบบเทป เป็นสื่อเก็บข้อมูลที่สามารถเก็บข้อมูลได้เป็นจำนวนมากและเข้าถึงข้อมูลแบบเรียงลำดับต่อเนื่องกันไป มีการผลิตขึ้นมาหลากหลายขนาดแตกต่างกันไป เช่น DAT และ QIC เป็นต้นปัจจุบันไม่ค่อยถือเป็น ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์
      3.4 แบบอื่นๆ เป็นสื่อเก็บข้อมูลแบบใหม่ที่พบได้ทั่วไปในปัจจุบัน มีชื่อเรียกแตกต่างกันไป เช่นFlash Drive, Thumb Drive , Handy Drive เป็นต้น อีกชนิดคือ Memory Card เพื่อใช้เก็บข้อมูลในกล้องดิจิตอลแบบพกพา
4. หน่วยรับข้อมูลเข้า (Input Unit)
หน่วยรับข้อมูล คือ เครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับข้อมูลรับข้อมูลหรือคำสั่ง จากผู้ใช้เข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น ตัวอักษร ตัวเลข สัญลักษณ์ เป็นต้น โดยจะแปลงข้อมูลหรือคำสั่งนั้นให้อยู่ในรูปของสัญญาณไฟฟ้าที่คอมพิวเตอร์เข้าใจ นำมาจัดเก็บที่หน่วยความจำหลัก และใช้ประมวลผลได้ อุปกรณ์หน่วยรับข้อมูลที่นิยมใช้ในปัจจุบัน มีดังนี้
      4.1 คีย์บอร์ด (Keyboard)
อุปกรณ์รับข้อมูลจากการกดแป้นแล้วทำการเปลี่ยนเป็นรหัส เพื่อบอกให้คอมพิวเตอร์รู้ว่ามีการกดตัวอักษรอะไร แผงแป้นอักขระส่วนใหญ่เป็นไปตามมาตรฐานของเครื่องพิมพ์ดีด ซึ่งระบบรับรหัสตัวอักขระที่ใช้ในทางคอมพิวเตอร์เป็นรหัส 7 หรือ 8 บิต (Operator)
      4.2 เมาส์ (Mouse)
อุปกรณ์นำเข้าข้อมูลโดยการเลื่อนเมาส์เพื่อบังคับตัวชี้ไปยังตำแหน่งต่างๆ บนหน้าจอ เมาส์ที่นิยมใช้มีด้วยกัน 3 ประเภท ได้แก่
4.2.1 แบบทางกล (Mechanical) ใช้ลูกกลิ้งกลม
4.2.2 แบบใช้แสง (Optical mouse)
4.2.3 แบบไร้สาย (Wireless Mouse)
4.3 OCR (Optical Character Reader)

อุปกรณ์นำเข้าข้อมูล โดยใช้วิธีการอ่านข้อมูลด้วยลำแสงในลักษณะพาดขวางบนเอกสารที่มีข้อมูลอยู่ แล้วแปลงรหัสเป็นสัญญาณไฟฟ้าเข้าไปเก็บในเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์โอซีอาร์ที่เราสามารถพบเห็นได้ในชีวิตประจำวัน ได้แก่ เครื่องอ่านรหัสแท่ง (Barcode reader)
4.4 OMR (Optical Mark Reader)
อุปกรณ์นำเข้าที่ทำงานโดยการอ่านข้อมูลจากการทำเครื่องหมายด้วยดินสอและปากกาลงบนกระดาษคำตอบ (Answer sheet) ซึ่งถูกออกแบบมาโดยเฉพาะ
4.5 เครื่องอ่านพิกัด (Digitizer)
เป็นอุปกรณ์รับข้อมูล มีลักษณะเป็นแผ่นกระดานสี่เหลี่ยม มีสายไฟฟ้าและอุปกรณ์คล้ายแว่นขยายที่มีเครื่องหมายกากบาทตรงกลาง พร้อมกับปุ่มสำหรับกด โดยปกติมักใช้ในการอ่านจุดพิกัดของแผนที่ หรือตำแหน่งของภาพกราฟิกต่างๆ
4.6 สแกนเนอร์ (Scanner)
เป็นอุปกรณ์นำเข้าข้อมูลที่เป็นเอกสาร รูปภาพ หรือ รูปถ่าย สแกนเนอร์สามารถแบ่งออกได้ 3ประเภท คือ
4.6.1 แบบเลื่อนกระดาษ (Sheet-Fed Scanner) สแกนเนอร์แบบนี้จะรับกระดาษแล้วค่อยๆ เลื่อนหน้ากระดาษให้ผ่านหัวสแกนซึ่งอยู่กับที่
4.6.2 แบบแท่นนอน (Flatbed scanner) สแกนเนอร์แบบนี้จะมีกลไกคล้ายกับเครื่องถ่ายเอกสาร เหมาะสำหรับใช้กับเอกสารทั้งที่เป็นแผ่นเดียวและเอกสารที่เป็นเล่ม
4.6.3 แบบมือถือ (Hand-held Scanner) สแกนเนอร์แบบมือถือได้รวมเอาข้อดีของสแกนเนอร์ ทั้งสองแบบเข้าไว้ด้วยกัน
4.7 ปากกาแสง (Light Pen)
เป็นอุปกรณ์ทำงานคล้ายกับเมาส์ในการติดต่อกับคอมพิวเตอร์ เป็นอุปกรณ์ที่เหมาะสำหรับงานวาดภาพ
4.8 จอยสติก (Joy Sticks)
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการควบคุมทิศทางของวัตถุบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ ส่วนใหญ่จะใช้ในการเล่นเกมคอมพิวเตอร์ มีทั้งที่เป็นแบบแบน แบบคันโยก หรือ แบบพวงมาลัย
4.9 จอสัมผัส (Touch Screen)
เป็นจอภาพชนิดพิเศษที่ใช้ระบบสัมผัสแทนการใช้คีย์บอร์ดและเมาส์ นิยมนำมาใช้กับงาน
4.10 เครื่องเทอร์มินัล (Point of Sale Terminal)
เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลอีกอย่างหนึ่งที่นิยมใช้ในร้านค้า เครื่องเทอร์มินัลนี้จะมีแป้นพิมพ์สำหรับกรอกข้อมูล มีจอภาพเล็กๆ เพื่อใช้แสดงผลต่างๆ และมีเครื่องพิมพ์สำหรับพิมพ์รายการ ทั้งนี้สามารถนำเครื่องอ่านรหัสบาร์โค๊ดเข้ามาช่วยในการรับข้อมูลได้ ซึ่งช่วยลดความผิดพลาดอันอาจเกิดจากการกรอกข้อมูลที่มีจำนวนมาก
4.11 แผ่นสัมผัส (Touch Pads)
เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลโดยการใช้นิ้วสัมผัสลงบนแผ่นสัมผัส น้ำหนักที่กดสงไปจะถูกเปลี่ยนเป็นสัญญาณไฟฟ้า มักเห็นอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก
4.12 กล้องดิจิทัล (Digital Camera)
เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ ที่สามารถแปลงข้อมูลภาพเป็นสัญญาณดิจิทัล มีลักษณะการใช้งานเหมือนกล้องถ่ายภาพทั่วไป แต่ต่างกันตรงที่ไม่ต้องใช้ฟิล์มในการบันทึกข้อมูล ข้อมูลภาพที่ได้สามารถถ่ายลงสู่เครื่องคอมพิวเตอร์และสามารถเรียกดูได้ทันที หรือจะใช้โปรแกรมช่วยตกแต่งภาพให้ดูสวยงามขึ้นก็ได้
4.13 อุปกรณ์รับข้อมูลเสียง (Voice Input Devices)
หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ไมโครโฟนเป็นอุปกรณ์รับข้อมูลในรูปแบบเสียงโดยจะทำการแปลงสัญญาณเสียงเป็นสัญญาณดิจิทัลแล้วจึงส่งไปยังคอมพิวเตอร์
5. หน่วยแสดงผล (Output Unit)
เป็นอุปกรณ์สำหรับแสดงผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ ผลลัพธ์ที่แสดงออกมาจะมีทั้งข้อมูลตัวอักษร, ภาพนิ่ง, ภาพเคลื่อนไหว หรือเสียง เป็นต้น อาจแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทดังนี้
      5.1 อุปกรณ์แสดงผลหน้าจอ (Display device)
เป็นอุปกรณ์สำหรับการแสดงผลในรูปแบบกราฟิกและผู้ใช้สามารถเห็นผลลัพธ์ได้แค่ชั่วคราวเท่านั้น เมื่อไฟดับหรือปิดการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ลงไปจะไม่สามารถเห็นได้อีก บางครั้งนิยมเรียกอุปกรณ์ประเภทนี้ว่าsoft copy นั่นเอง เช่น
      5.1.1 เทอร์มินอล (Terminal)
มักพบเห็นได้กับจุดบริการขาย (POS-Point Of Sale) ตามห้างสรรพสินค้า ร้านสะดวกซื้อ หรือจุดให้บริการลูกค้าเพื่อทำรายการบางประเภท เช่น ตู้รายการฝากถอน ATM อัตโนมัติ จอภาพของเทอร์มินอลจะมีขนาดเล็กกว่าจอภาพที่ใช้กับคอมพิวเตอร์
       5.1.2 จอซีอาร์ที (CRT Monitor)
เป็นอุปกรณ์แสดงผลที่นิยมใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ประเภทพีซี การทำงานจะอาศัยหลอดแก้วแสดงผลขนาดใหญ่ที่เรียกว่าหลอดรังสีคาโธด (cathode ray tube) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีเดียวกับหลอดภาพของโทรทัศน์ และตัวจอภาพก็มีลักษณะเหมือนกับจอภาพของโทรทัศน์ มีหลายขนาดตั้งแต่ 14,15,16,17,19,20 และ 21 นิ้ว เป็นต้น (แนวโน้มการใช้งานปัจจุบันจะเลือกใช้จอภาพที่มีขนาดใหญ่ขึ้น เพื่อช่วยในการทำงานได้ดีกว่าจอภาพขนาดเล็ก โดยเฉพาะงานที่ต้องใช้พื้นที่สำหรับทำงานบนจอภาพมากๆ เช่น การสร้างภาพกราฟิกหรือการออกแบบงาน 3 มิติ เป็นต้น)
      5.1.3 จอแอลซีดี (LCD Monitor)
เป็นอุปกรณ์แสดงผลอีกแบบหนึ่ง อาศัยการทำงานของโมเลกุลชนิดพิเศษเรียกว่า “ผลึกเหลว”หรือ liquid crystal ในการแสดงผล (LCD = Liquid Crystal Display ) ซึ่งเมื่อมีสัญญาณไฟฟ้าส่งไปยังแต่ละจุดบนจอ ผลึกเหลว ณ จุดนั้นจะมีการบิดตัวของโมเลกุลเป็นองศาที่แตกต่างกัน ทำให้แสงที่ส่องจากด้านหลังจอผ่านได้มากน้อยต่างกัน และเกิดภาพสีต่างๆ ขึ้น แต่เดิมนิยมใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์แบบโน้ตบุ๊ก ปัจจุบันได้นำมาใช้กับเครื่องพีซีทั่วไปบ้างแล้ว เนื่องจากมีขนาดบาง เบา และสะดวกในการเคลื่อนย้ายมากกว่า อีกทั้งยังไม่เปลืองพื้นที่สำหรับการทำงานด้วย แต่ปัจจุบันยังมีราคาที่แพงกว่าจอแบบซีอาร์ทีพอสมควร
      5.1.4 โปรเจคเตอร์ (Projector)
นิยมใช้สำหรับการจัดประชุม สัมมนา หรือการนำเสนอผลงาน (presentation) ที่ต้องการให้ผู้เข้าชมจำนวนมากได้เห็นข้อมูลภาพกราฟิกต่าง ๆ ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ทำหน้าที่เป็นเหมือนอุปกรณ์ช่วยขยายภาพขนาดเล็กจากจอภาพธรรมดาให้ไปแสดงผลลัพธ์เป็นภาพขนาดใหญ่ที่บริเวณฉากรับภาพ
      5.2 อุปกรณ์สำหรับพิมพ์งาน (Print Device)
เป็นอุปกรณ์การแสดงผลที่แสดงออกมาให้อยู่ในรูปแบบข้อมูล รายงาน รูปภาพ หรือแผนที่ซึ่งสามารถจับต้องหรือเก็บรักษาไว้ได้อย่างถาวร นิยมเรียกอุปกรณ์เหล่านี้ Hard copy อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องสำหรับการพิมพ์งานมีดังนี้
      5.2.1 เครื่องพิมพ์แบบดอทเมตริกซ์ (Dot matrix Printer)
เป็นเครื่องพิมพ์ที่ใช้กันในองค์กรธุรกิจทั่วไป เนื่องจากมีคุณสมบัติในการทำงานพิมพ์โดยอาศัยหัวเข็มพิมพ์กระทบลงไปที่ผ้าหมึก (ribbon) และตัวกระดาษโดยตรงจึงเหมาะสมกับการพิมพ์เอกสารประเภทใบเสร็จรับเงิน ใบกำกับภาษี ใบส่งของ หรือรายการสั่งซื้อที่จำเป็นต้องมีสำเนาเอกสาร (copy) เพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐานทางการบัญชี นิยมเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เครื่องพิมพ์แบบกระทบ (impact printer) แต่มีข้อจำกัดในเรื่องการทำงานที่เป็นสี นอกจากนี้คุณภาพของงาน ความคมชัด และความเร็วยังต่ำกว่าเครื่องพิมพ์แบบอื่นๆ จึงมีความนิยมใช้ลดลง ถึงแม้มีราคาไม่สูงนักก็ตาม
      5.2.2 เครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์ (Laser Printer)
ผลลัพธ์ที่ได้จากการพิมพ์เอกสารด้วยเครื่องพิมพ์แบบดอทเมตริกซ์ซึ่งอาศัยหัวพิมพ์กระทบลงไปในกระดาษเหมือหลักการของเครื่องพิมพ์ดีดนั้น ทำให้คุณภาพงานพิมพ์ที่ได้ไม่ชัดเจน จึงนิยมใช้เครื่องพิมพ์ประเภทเลเซอร์เข้ามาแทนเนื่องจากมีความคมชัดมากกว่าเครื่องพิมพ์แบบนี้อาศัยการทำงานของแสงเลเซอร์ฉายลงไปยังหลอดสร้าง (drum) ภาพที่ได้รับการกระตุ้นของแสง แล้วฉีดผงหมึกเข้าไปยังบริเวณที่มีประจุอยู่(ซึ่งเป็นหลักการเดียวกับเครื่องถ่ายเอกสารนั่นเอง) จากนั้นให้กระดาษวิ่งมารับผงหมึก แล้วไปผ่านความร้อนเพื่อให้ภาพติดแน่น ข้อดีคือภาพที่ได้มีความละเอียดสูงมาก และความเร็วก็สูง แต่มีข้อเสียคือไม่สามารถพิมพ์เอกสารที่เป็นแบบสำเนา (copy) เหมือนกับเครื่องพิมพ์แบบดอทเมตริกซ์ได้ นอกจากนี้ปัจจุบันเริ่มมีเครื่องพิมพ์งานสีได้แล้ว โดยใช้ผงหมึก 4 สีผสมกัน ซึ่งราคาเครื่องเริ่มลดลงมากแล้ว แต่ผงหมึกก็ยังแพงอยู่
      5.2.3 เครื่องพิมพ์แบบอิงค์เจ็ต (Ink-jet Printer)
เป็นเครื่องพิมพ์ที่มีการทำงานโดยอาศัยน้ำหมึกพ่นลงไปบนกระดาษตรงจุดที่ต้องการ และสามารถเลือกใช้ได้ทั้งหมึกสีและขาวดำ เครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึกอาจมีทั้งแบบราคาถูกที่ใช้งานตามบ้านทั่วไปสำหรับพิมพ์เอกสารที่ต้องการความสวยงาม เช่น ภาพถ่าย โปสการ์ด ปฏิทิน หรือพิมพ์บนกระดาษแบบพิเศษแล้วนำไปติดกับเสื้อผ้าหรือแก้วกาแฟ หรืออาจพบเห็นได้กับเครื่องพิมพ์ในบางรุ่นที่นิยมใช้กันในงานธุรกิจ เช่น งานพิมพ์โปสเตอร์หรือภาพสีขนาดใหญ่ แต่ก็มีราคาที่แพงตามไปด้วย
      5.2.4 พลอตเตอร์ (Plotter)
เป็นเครื่องพิมพ์เพื่อแสดงผลลัพธ์อีกประเภทหนึ่ง มักใช้กับการพิมพ์เอกสารที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่มากและไม่สามารถพิมพ์ด้วยเครื่องขนาดเล็กได้ การทำงานใช้กลไกบังคับปากกาให้ขีดลงบนกระดาษโดยตรง ส่วนใหญ่เป็นเอกสารที่ต้องการความละเอียดสูง เช่น ภาพโฆษณา แผนที่ แผนผัง แบบแปลน เป็นต้น อย่างไรก็ดีอาจพบเห็นเครื่องพลอตเตอร์นี้ค่อนข้างน้อยในปัจจุบัน เนื่องจากเครื่องพิมพ์แบบอิงค์เจ็ตได้เข้ามาแทนที่เกือบหมดแล้ว
       5.3 อุปกรณ์ขับเสียง (Audio Device)
5.3.1 ลำโพง (Speaker)
ข้อมูลที่เป็นแบบเสียงจะไม่สามารถแสดงผลลัพธ์ไปยังจอภาพของคอมพิวเตอร์ได้ แต่จตั้งแต่ร้อยกว่าบาทจนถึงหลักพัน นิยมใช้สำหรับการแสดงผลในรูปของเสียงเพลงหรือเสียงประกอบในะอาศัยอุปกรณ์แสดงผลเฉพาะที่เรียกว่า ลำโพง ( speaker ) เพื่อช่วยขับเสียงออก ปัจจุบันมีราคาถูกมากภาพยนตร์รวมถึงเสียงที่ได้จากการพูดผ่านไมโครโฟน
5.3.2 หูฟัง ( Headphone )


เป็นอุปกรณ์สำหรับรับฟังข้อมูลประเภทเสียงเช่นเดียวกัน นิยมใช้สำหรับการฟังเสียง เช่น ฟังเพลง หรือเสียงประกอบภาพยนตร์ที่เป็นแบบส่วนตัว ในบางรุ่นอาจพบได้ทั้งหูฟังและไมโครโฟนอยู่ในตัวเดียวกัน มีให้เลือกหลายชนิดทั้งแบบที่มีสายเชื่อมต่อและแบบไร้สาย ราคาของหูฟังอาจจะมีตั้งแต่ราคาไม่กี่ร้อยบาทจนถึงหลักพัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับคุณภาพและยี่ห้อของบริษัทผู้ผลิตด้วยโดยปกติทั้งหูฟังและลำโพงจะต่อสัญญาณเสียงแบบอนาล็อก (analog) คือสัญญาณเสียงทั่วๆ ไปเหมือนในวิทยุหรือโทรทัศน์ จากช่องเสียบสัญญาณที่ซาวด์การ์ดในเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่มีลำโพงและหูฟังบางแบบอาจใช้การต่อสัญญาณเสียงในแบบดิจิตอลจากพอร์ต USB ของเครื่องออกมาแทน แล้วแปลงกลับเป็นเสียงแบบที่เราได้ยินกัน โดยใช้วงจรภายในตัวเอง ซึ่งจะลดเสียงรบกวนจากอุปกรณ์อื่น ๆ ในคอมพิวเตอร์ แต่หูฟังหรือลำโพงแบบนี้ก็จะมีราคาแพงกว่า


 โครงข่ายพื้นฐานด้านอุปกรณ์คอมพิวเตอร์





     มี 7 องค์ประกอบที่สำคัญที่จะต้องมีการประสานงานเพื่อให้ บริษัทมีโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีที่สอดคล้องกัน คือ
1.The Mobile Digital Platform
2. Consumerization Of IT and BYOD
3. Quantum Computing
4.Virtualization
5. Cloud Computing
6.Green Computing
7. High‐ Performance/Power‐saving Processors