วันอาทิตย์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2561

บทที่ 4 โครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศ (ฐานข้อมูลและระบบสารสนเทศ)



รายชื่อสมาชิก

                                   นายสรศักดิ์             ประพันธ์อนุรักษ์ รหัสนักศึกษา 58127328003
                                   นางสาวอรยา          สุขคุ้ม                 รหัสนักศึกษา 58127328005
                                   นางสาวธัญนันท์     ริชะนะ                 รหัสนักศึกษา 58127328008 
                                   นางสาวอาภาภรณ์  ศรีโชค                รหัสนักศึกษา 58127328014 
                                   นางสาวธัญณิช       พูลสมบัติ            รหัสนักศึกษา 58127328017 
                                   นางสาวจุฑามาศ    ปู่น้อย                  รหัสนักศึกษา 58127328023

Case study : Lego : Embracing Change by Combining BI with a Flexible Information System

1. บทบาทของฐานข้อมูลในระบบ SAP’s three-tier

เป็นระบบที่มีสถาปัตยกรรมแบบรับ – ให้บริการ 3 ชั้น (Three-tier Client/Server) ซึ่งแบ่งการทำงานเป็นออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่

1. ชั้นการแสดงผล (Presentation Layer) เป็นชั้นของการทำงานที่ให้บริการทางด้านการแสดงผลที่หน้าจอด้วยส่วนต่อประสาทกราฟิกกับผู้ใช้ (Graphical User Interface: GUI) ซึ่งทำงานอยู่บนเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้งาน และติดต่อกับงานส่วนบริการประยุกต์ (Application Server) ผ่านข่ายงานบริเวณเฉพาะที่ (Local Network: LAN) หรือข่ายงานบริเวณกว้าง (Wide-Area Network: WAN)

2. ชั้นการประยุกต์ (application Layer) เป็นชั้นของการทำงานที่ให้บริการด้านตรรกะประยุกต์ (Application Logic) คือ ประมวลผลคำสั่งในการทำงานและคำสั่งในการคำนวณ เช่น IF, CASE, DO, WHILE,คำสั่งบวก ลบ คูณ หาร เป็นต้น และด้านตรรกะข้อมูล (Data Logic) คือ ประมวลผลคำสั่งภาษาสอบถามเชิงโครงสร้าง (Structured Query language: SQL) โดยชั้นการทำงานนี้ติดต่อกับชั้นฐานข้อมูลผ่านข่ายงานบริเวณเฉพาะที่

3. ชั้นฐานข้อมูล (Database Layer) เป็นส่วนที่ให้บริการทางด้านการจัดการข้อมูลในระบบฐานข้อมูล ซึ่งทำงานร่วมกับระบบจัดการฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ (Relational Database Management System: RDBMS)



สถาปัตยกรรมของระบบ SAP R/3

2. ความยืดหยุ่นของสถาปัตยกรรมแบบกระจายสถาปัตยกรรมระบบฐานข้อมูลแบบกระจายมีความยืดหยุ่น ในการปรับให้เข้ากับสถาปัตยกรรมที่ให้บริการแบบใหม่ๆ ที่มีอยู่ในเวอร์ชั่นล่าสุดของซอฟต์แวร์ และในระบบฐานข้อมูลแบบกระจาย ข้อมูลจะถูกจัดเก็บไว้ในหลายๆ เครื่อง มีการเชื่อมต่อเข้าด้วยกันผ่านระบบเครือข่าย โดยแต่ละที่จะมีระบบจัดการฐานข้อมูลเป็นของตนเอง และสามารถที่จะทำงานได้ด้วยตนเอง หรือร่วมกันทำงานก็ได้ โดยที่คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง จะเรียกว่าไซต์หรือโหนด




ลักษณะทางกายภาพของระบบฐานข้อมูลแบบกระจาย


3. คุณลักษณะทางธุรกิจที่รวมอยู่ใน SAP’s business software suite

โมดูล SCM มีคุณลักษณะที่สำคัญ เช่น การตรวจสอบและวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทาน
ตลอดจนการคาด
การณ์ การวางแผน และการเพิ่มประสิทธิภาพสินค้าคงคลัง
โมดูล PLM ช่วยให้ผู้จัดการสามารถเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการและระบบการพัฒนา
โมดูล ERP ประกอบด้วยโปรแกรมประยุกต์การจัดการทุนมนุษย์ (HCM) สำหรับการบริหารและพัฒนาบุคลากร
โมดูล ERP-HCM ของ SAP ประกอบด้วยคุณลักษณะขั้นสูง เช่น "การบริหารจัดการคนเก่ง" เช่นเดียวกับการจัดการการบริหารงานของพนักงาน การเขียนรายงาน การจัดการด้านการเดินทางและเวลา




4. ข้อดีและข้อเสียของการมีฐานข้อมูลหลายตัวในสถาปัตยกรรมระบบฐานข้อมูลแบบกระจาย
การณ์ การวางแผน และการเพิ่มประสิทธิภาพสินค้าคงคลัง


ข้อดี

Ä การทำงานเป็นแบบอิสระต่อกัน
Ä หากข้อมูลของบางส่วนงานเสียหายจะไม่ส่งผลกระทบต่อส่วนงานอื่น ๆ
Ä มีความเชื่อถือสูง
Ä มีประสิทธิภาพสูง
Ä ประหยัดค่าใช้จ่ายเมื่อเทียบกับเครื่องคอมพิวเตอร์ระดับใหญ่
             Äง่ายต่อการขยายระบบในอนาคต
             Äเหมาะสำหรับหน่วยงานที่มีแนวโน้มการเจริญเติบโตอยู่ตลอดเวลา

ข้อเสีย

Ä มีความซับซ้อนมากกว่าแบบรวมศูนย์
Ä มีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการบำรุงรักษาสูง
Ä สูญเสียการควบคุมความปลอดภัย
Ä การควบคุมความถูกต้องตรงกันในข้อมูลเป็นไปได้ค่อนข้างยาก
Ä การออกแบบฐานข้อมูลมีความซับซ้อนสูง
Ä ขาดแคลนผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ที่มีประสบการณ์

MONITORING EMPLOYEES ON NETWORKS : UNETHICAL OR GOOD
BUSINESS?
1. ควรให้มีการตรวจสอบการใช้อินเทอร์เน็ตและอีเมลของพนักงานหรือไม่ อย่างไร
       ควรตรวจสอบ เนื่องจากพนักงานพนักงานเสียเวลาอันมีค่าในบริษัท ในการท่องเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสม รวมถึงการส่งและรับอีเมล์ส่วนบุคคล การพูดคุยกับเพื่อนผ่านการแชทออนไลน์ และการดาวน์โหลดวิดีโอและเพลง พนักงานให้ความสำคัญกับธุรกิจส่วนตัวมากกว่าธุรกิจของบริษัททำให้บริษัทสูญเสียรายได้ และหากมีการเข้าใช้เครือข่ายของบริษัทสูงเกินไป อาจทำให้เครือข่ายของบริษัทหยุดชะงัก ทำให้เกิดความเสียหายแก่บริษัท และป้องกันการส่งอีเมล์ที่เป็นความลับหรือน่าอับอายของบริษัทไปยังบุคคลภายนอกบริษัท
2. นโยบายเกี่ยวกับการใช้เว็บไซต์และอีเมลที่มีประสิทธิภาพสำหรับบริษัท
นโยบายควรมีการระบุที่ชัดเจนว่าตำแหน่งหรือระดับภายใต้สถานการณ์ใด ที่พนักงานสามารถใช้สิ่งอำนวยความสะดวกของบริษัทในการท่องเว็บหรือใช้อีเมล นโยบายควรแจ้งให้พนักงานทราบว่ากิจกรรมเหล่านี้ได้รับการตรวจสอบ นโยบายควรปรับให้เหมาะสมกับความต้องการทางธุรกิจเฉพาะขององค์กร ตัวอย่างเช่น บริษัทลงทุนจะต้องอนุญาตให้พนักงานเข้าถึงเว็บเว็บไซต์การลงทุนอื่นๆ ได้

3. ควรแจ้งให้พนักงานทราบว่าพฤติกรรมบนเว็บของพวกเขากำลังได้รับการตรวจ
สอบหรือไม่? หรือควรตรวจสอบอย่างลับๆ? อย่างไร
         ควรแจ้งให้พนักงานทราบว่ากำลังถูกตรวจสอบพฤติกรรมบนเว็บไซต์ เพราะขณะนี้บริษัท IBM มี
"แนวปฏิบัติการใช้สื่อสังคมออนไลน์" ที่ครอบคลุมกิจกรรมบนเว็บไซต์ของพนักงาน เช่น Facebook และ
Twitter แนวทางนี้จะกระตุ้นให้พนักงานไม่ปกปิดตัวตนของพวกเขา เพื่อระลึกถึงว่าพวกเขาเป็นผู้รับผิด
ชอบต่อสิ่งที่พวกเขาเผยแพร่


กรณีศึกษา : วิธีการที่ STARBUCKS ใช้ในการปรับเปลี่ยนเป็นองค์กรดิจิทัลและสังคม

1. ปัญหาของ Starbucks คืออะไร เหตุใด Starbucks จึงเลือกแนวทางของเครือข่ายดิจิทัลและสังคม มาแก้ปัญหาของธุรกิจที่เกิดขึ้น
ปัญหาของ Starbucks คือรายได้จากการดำเนินงานของบริษัทลดลงอย่างมาก มากกว่า 1 พันล้านเหรียญในปี 2550 เป็น 504 ล้านเหรียญต่อปี 2008 และ 560 ล้านเหรียญในปี 2009 ในภาวะที่เศรษฐกิจที่ชะลอตัวยังมีการเพิ่มขึ้นของคู่แข่ง เช่น Green Coffee Mountain Roasters ที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นแม้ในระหว่างที่ภาวะถดถอย
Starbucks จึงมีความจำเป็นต้องตระหนักถึงการมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้าของตน บริษัทจึงตัดสินใจแก้ไขปัญหาโดยการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลด้วยการนำ Social network ทุก site มาเชื่อมต่อกัน สร้างขึ้นภายใต้concept และ Direction เดียวกัน เพื่อแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ ข้อมูลข่าวสารที่ดี สามารถพูดคุยติดต่อสื่อสารกับลูกค้าและไอเดียจากลูกค้าโดยตรง และการสร้างสัมพันธ์ที่ดีต่อลูกค้าซึ่งมีคุณค่ามหาศาลไม่น้อยสำหรับ Starbucks จึงเป็นเหตุที่ Starbucks เป็นที่ครองใจลูกค้ามาอย่างช้านาน
2. อธิบายว่าการปรับเปลี่ยนการดำเนินงานของร้านค้า Starbucks ในรูปแบบเดิม มาริเริ่มโครงการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อธุรกิจอย่างไร
ทำให้ในปี 2010 ผลการดำเนินงานแสดงรายได้เพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัว โดยมีรายได้ 1.437 พันล้านเหรียญ เมื่อเทียบกับรายได้ 560 เหรียญล้านในปี 2009 ซึ่งส่งผลต่อราคาหุ้นที่สูงขึ้นของStarbucks และในปี 2011รายได้จากการดำเนินงานอยู่ที่ 1,750 ล้านเหรียญ ตั้งแต่รายได้จากการดำเนินงานเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ความคิดริเริ่มด้านสื่อสังคมของบริษัทได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง ในปี 2012 Starbucks มีรายชื่ออยู่ในนิตยสารฟอร์จูนว่าเป็นหนึ่งในสื่อสังคมชั้นนำ และในปี 2008 ได้รับรางวัล 2008 Groundswell Award จากสถาบันวิจับ Forrester เว็บไซต์ของStarbucks เป็นที่นิยมอย่างมากใน Facebook ซึ่งมีแฟนเพจนับล้าน ๆ คน ซึ่งได้รับความนิยมมากกว่าดาราชื่อดังในสหรัฐอเมริกา
3. วิเคราะห์โครงการสื่อสังคมออนไลน์ ของ Starbucks ที่ได้ดำเนินการไปแล้ว เช่นWebsite, Facebook, Twitter, Google+, Youtube, Flickr, และ Instagramเป็นต้น ว่ามีจุดเด่น และจุดด้อยอะไรบ้าง และนำเสนอสิ่งที่ควรปรับปรุงแก้ไขบนสื่อเหล่านั้น
       
จุดเด่น
🔺 ภาพหน้าปก Facebook Fanpage, Website หรือ Application ของ Starbucks Thailand. มีความโดดเด่น ชัดเจน และบ่งบอกถึงลักษณะของสินค้าที่ทางร้านจำหน่าย บ่งบอกถึงความเป็น Facebook Fanpage ของแบรนด์สินค้า รวมไปถึงใช้รูปภาพหน้าปกส่งเสริมการขาย หรือกิจกรรมต่าง ๆ ที่กำลังจะเกิดขึ้น เพื่อให้ผู้บริโภคที่ติดตาม
🔺  แถบเมนูต่าง ๆ หน้า Facebook Fanpage, Website หรือ Application ของ Starbucks Thailand. เป็นส่วนที่ให้ข้อมูลเบื่อต้นเกี่ยวกับแบรนด์ ทำให้ผู้ที่สนใจทราบถึงข้อมูลที่แบรนด์ต้องการนำเสนอได้อย่างรวดเร็ว เช่น ข้อมูลการติดต่อ เมนูรวม รูปภาพ เมนูรวมวิดีโอ เป็นต้น
🔺  โพสต์จากผู้เข้าชมหน้า Facebook Fanpage หรือ Website ของ Starbucks Thailand. เป็นส่วนที่ให้สมาชิกของ Facebook Fanpage หรือ เข้ามาแสดงความเห็น พูดคุยกับแบรนด์หรือกับสมาชิกด้วยกันเองแบบไม่เป็นความลับ ที่สามารถแสดงความเห็นได้ทั้งรูปแบบข้อความ วิดีโอ และอีโมติคอน ซึ่งทำให้ลูกค้าที่สนใจในตัวแบรนด์สามารถตัดสินใจซื้อหรือใช้บริการของร้านได้
🔺  กระดานข้อความหรือคำประกาศแจ้งข่าวสารต่างๆหน้า Facebook Fanpage, Website หรือApplication ของ Starbucks Thailand. ทำให้ลูกค้ารับทราบข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับแบรนด์ได้อย่างรวดเร็วและสะดวกสบาย รวมทั้งสามารถร่วมแสดงความคิดเห็นต่อกิจกรรมต่าง ๆ ได้ที่ข้อความ Facebook Fanpageหรือ Website
🔺  ทางข้อความในMailเมื่อลูกค้าทำการสมัครสมาชิกและยืนยันการลงทะเบียนแล้ว จะมีข่าวสาร หรือสิทธิพิเศษแจ้งให้กับลูกค้าที่เป็นสมาชิกทราบก่อนเป็นอันดับแรก ซึ่งเป็นการดึงดูดให้ลูกค้าสนใจที่จะสมัครสมาชิกกับทางแบรนด์

จุดด้อย
🔺 ทางแบรนด์เป็นแบรนด์ของต่างประเทศทำให้ภาษาที่ใช้แจ้งข่าวสารโดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งอาจเป็นอุปสรรคต่อตัวลูกค้าบางกลุ่ม
🔺 เมื่อไม่ได้มีการเข้าใช้ Application เป็นระยะเวลานานระบบจะทำการล็อคเอาท์ออกทันที เป็นปัญหากับคนที่จำรหัสหรือเมลล์ที่ใช้สมัครไม่ได้
🔺 การส่งเมลล์ของแบรนด์บางครั้งจะเป็นเมลล์ขยะเนื่องจากการจัดส่งที่ผิดพลาด
🔺 ในบางข่าวสารเกี่ยวกับเมนูตัวใหม่ หรือกิจกรรมใหม่ทางแบรนด์ไม่ได้มีการแจ้งรายละเอียดที่ครบถ้วน ทำให้ลูกค้าไม่มั่นใจและไม่กล้าตัดสินใจที่จะซื้อหรือใช้บริการ
🔺 ราคาของเมนูมักไม่บอกส่วนลดทำให้ลูกค้าไม่มั่นใจกับราคาจริงของสินค้านั้น

ข้อเสนอแนะ
🔺 ทางแบรนด์ควรเพิ่มข้อความหรือเมลล์เป็นภาษาที่หลากหลายเพื่อการเข้าถึงลูกค้าที่มากขึ้น
🔺 Application ของแบรนด์ควรมีความเสถียรมากกว่าปัจจุบัน
4. อธิบายว่าเครือข่ายดิจิทัลและสังคม ทั้งโครงการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และโครงการสื่อสังคมออนไลน์ มีส่วนช่วยในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดี และความภักดีกับลูกค้าของ Starbucks ได้อย่างไร
       สตาร์บัคส์ ได้นำโครงการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และโครงการสื่อสังคมออนไลน์มาใช้เพื่อสร้างสัมพันธ์ที่ดีและความภักดีกับลูกค้า ไม่ว่าจะเป็น STARBUCKS CARD (บัตรสมาชิก), STARBUCKS REWARDS (ระบบสะสมแต้ม)ระบบ E-Wallet, แอปพลิเคชันสำหรับสั่งกาแฟก่อนถึงหน้าร้านได้ร้านค้าออนไลน์ใช้สื่อFACEBOOK, LINKEDLN, GOOGLE+,TWITTER, YOUTUBE, FLICKR, INSTAGRAM ในการอัพโหลดวีดีโอ โพสต์ ลงรูปถ่าย โปรโมชันเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และข้อเสนอพิเศษ สตาร์บัคส์ได้สร้างเครือข่ายดิจิทัลและสังคมเพื่อสนับสนุนกิจกรรมแบบดิจิทัล โดยใช้เครือข่ายดิจิทัลของStarbucks ในการเป็นหุ้นส่วนกับผู้บริการสื่อรายใหญ่ เช่น iTunes, AIS เป็นต้น เทคโนโลยีเหล่านี้จะช่วยให้ลูกค้าใช้บริการได้สะดวกขึ้น เข้าถึงโปรโมชั่นได้ง่ายขึ้น ทำให้ลูกค้าเกิดความประทับใจในสตาร์บัคส์มากยิ่งขึ้นแล้วกลับมาใช้บริการของสตาร์บัคส์
5. วิเคราะห์ปัจจัยความสำเร็จในการนำเครือข่ายดิจิทัลและสังคม มาใช้ในการดำเนินงานของ Starbucks ประกอบด้วยปัจจัยอะไรบ้าง
🔺  Starbucks ทำการสื่อสารทางการตลาดผ่านเว็บไซต์ และเครือข่ายสังคมออนไลน์ ต่างๆ เป็นเครื่องมือทางการตลาดที่ใช้สร้างประสบการณ์ร่วมกันระหว่างตราสินค้าและผู้บริโภค และการแบ่งปันประสบการณ์ ระหว่างผู้บริโภค เพื่อน คนรู้จัก หรือแม้แต่คนที่ไม่เคยรู้จัก ผ่านการบอกต่อ ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการสร้างตราสินค้ายุคใหม่
🔺 การทำแอพพลิเคชั่น Starbucks ในปี 2011 เพื่อจ่ายค่ากาแฟ ดูแต้มสะสม หรือแม้กระทั่งให้ทิปบาริสต้า การพัฒนาแอพพลิเคชั่นเป็นการสนับสนุนภาพลักษณ์ขององค์กรอย่างหนึ่ง ทำให้เกิดความสะดวก รวดเร็วในการบริการ สร้างความประทับใจให้กับลูกค้าได้
🔺 Starbucks ให้ประสบการณ์ที่ดีกับลูกค้า ทั้งด้านคุณภาพของวัตถุดิบ รสชาติเครื่องดื่มและอาหารที่มีมารตฐานเดียวกันทุกสาขา บรรยากาศของร้าน การบริการที่ดี และสามารถสั่งกาแฟแบบดัดแปลงตามใจลูกค้า











ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น